News & Update

ARM เปิดตัวชิปใหม่บนสถาปัตยกรรม ARMv9 ปิดตำนาน 32-bit ภายในปีนี้

ARMv9 Header

ARMv8 เปิดศักราชใหม่สำหรับโลกมือถือด้วยสถาปัตยกรรม 64-Bit ที่แต่เดิมอยู่บนพีซีเท่านั้น และ ARM ก็เปิดตัว ARMv9 มาได้สักพักหนึ่งแล้ว

ARMv9 Cortex-X2 Cortex-A710 Cortex-A510

ARMv9 อาจจะไม่ใช่การก้าวสู่ยุคถัดไปอย่าง 128-bit แต่จะเป็นการปิดยุคการประมวลผลแบบ 32-bit เพื่อก้าวเข้าสู่ยุค 64-bit อย่างเต็มตัว

CPU ใหม่ใต้สถาปัตยกรรม ARMv9

Cortex-X2 เป็นชิปรุ่นที่สองในกลุ่ม Cortex-X series โดยทาง ARM ระบุว่าจะมีประสิทธิภาพเร็วกว่ารุ่นแรก 16% ด้วยกัน แม้จะใช้กระบวนการผลิตที่ขนาดเท่ากัน และความถี่สัญญาณนาฬิกาเท่ากัน

อย่างไรก็ตามกว่าชิปนี้จะถูกหยิบไปใช้และผลิตจริงคาดว่าอย่างเร็วสุดคือปีหน้าเป็นต้นไป ทั้งนี้ทาง ARM ได้ดันพลังประมวลผลให้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการทำ Machine Learning ทำให้โฆษณาว่าพลังของคอร์เดียวจะดีกว่า Intel ของปีที่แล้วมากถึง 40% ด้วยกัน​ (รุ่นที่เปรียบเทียบคือ 1 คอร์ของ Cortex-X2 และ Intel i5-1135G7)

นอกจากนี้ยังมี DSU-110 (DynamIQ Shared Unit) ที่รองรับหน่วยประมวลผล Cortex-X2 สูงสุดที่ 8 คอร์อีกด้วย แต่จำนวนคอร์ของซีพียูพลังสูงแบบนี้คาดว่าจะเป็นการใช้งานบนคอมพิวเตอร์ หรือเซิฟเวอร์ ไม่ใช่บนมือถือแต่ประการใด รวมไปถึงมีการเพิ่ม L3 Cache ให้มากถึง 8MB อีกด้วย

รุ่นถัดมาคือ Cortex-A710 แม้จะเป็น ARMv9 แต่ประสิทธิภาพคาดว่าจะดีกว่า Cortex A78 ที่เป็น ARMv8 ราวๆ 10% เท่านั้น (ในกรณีที่ใช้กระบวนการผลิต และสัญญาณนาฬิกาเท่ากัน) แต่อัตราการบริโภคพลังงานต่อพลังประมวลผลดีขึ้น 30% และหน่วยประมวลผลด้านปัญญาประดิษฐ์ดีขึ้นกว่าเดิมเกือบสองเท่า

แม้ว่าการทำงานทั่วๆ ไปจะเค้นประสิทธิภาพมากกว่าเดิมได้ 10% แต่การนำไปเล่นเกมส์จะเห็นผลชัดเจนกว่านั้น โดยคาดว่า CPU จะประมวลผลเกมส์ได้ดีกว่าเดิม 33% ส่วน Mali-G710 เองก็น่าจะมีประสิทธิภาพในการเล่นเกมส์ดีกว่าเดิม 20% ด้วยกัน

รุ่นสุดท้ายคือ Cortex-A510 ซีพียูกลุ่มคอร์ประหยัดพลังงานที่ออกรุ่นสุดท้ายในปี 2017 และเงียบหายไป ตามสเปคแล้ว Cortex-A510 จะแรงกว่า Cortex-A55 ถึง 35% ด้วยกัน ความสามารถด้านการประมวลผลปัญญาประดิษฐ์เพิ่มขึ้น 3 เท่า ทาง ARM ระบุว่าประสิทธิภาพของ Cortex-A510 จะใกล้เคียงซีรีส์ A7x ในอดีตในแง่ของประสิทธิภาพการประมวลผล ทำให้ภาพรวมชิปประมวลผลระดับกลางแรงขึ้นจากอดีตอย่างเห็นได้ชัด

GPU ใหม่สำหรับชิปประมวลผลยุค 2021

ถ้าพูดถึงชิปประมวลผลกราฟฟิคบนมือถือ อันดับหนึ่งคงหนีไม่พ้น Mali เนื่องจากเป็นชิปที่ ARM พัฒนาขึ้น และถูกหลายรายซื้อไปใช้งาน (ปี 2020 คาดว่ามีชิปกราฟฟิค Mali ขายไปทั้งสิ้น 1 พันล้านตัว) นอกจากมือถือแล้วยังอยู่ใน Smart TV อีกนับไม่ถ้วนอีกด้วย

  • Mali-G710 ถือว่าเป็นชิปบนสุดในการเปิดตัวครั้งนี้ ประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม 20% และกินไฟน้อยลง 20% พลังประมวลผลด้านปัญญาประดิษฐ์ดีขึ้นกว่าเดิม 35% ในอนาคตนอกจากจะเห็นบนมือถือแล้วคาดว่าจะถูกนำไปใช้กับพวก Chromebook อีกด้วย พลังด้านปัญญาประดิษฐ์ที่เพิ่มขึ้นมานี้น่าจะถูกนำไปใช้กับการปรับแต่งภาพเวลาถ่ายรูป และการถ่ายวิดิโอแบบใหม่ๆ (เช่น HDR)
  • Mali-G610 มีฐานการพัฒนาที่มาจาก Mali-G710 แต่ลดสเปคลงมาเพื่อให้ราคาถูกลง (ในภาพจะเห็นซ้อนกับ Mali-G710 ด้านล่าง)
  • Mali-G510 เมื่อเทียบกับรุ่นเก่าในกลุ่มระดับกลางประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นสองเท่า และกินไฟน้อยลง 22% (พลังประมวลผลปัญญาประดิษฐ์เพิ่มจากเดิมสองเท่าเช่นกัน) คาดว่าจะถูกนำไปใช้กับมือถือระดับกลาง ทีวีอัจฉริยะ และกล่อง set-top box ที่ใช้รับสัญญาณทีวีเป็นหลัก
  • Mali-G310 เป็นชิประดับล่างสุด เพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล Vulkan API จากรุ่นเดิมถึง 4.5 เท่าด้วยกัน นอกจากนี้ยังโฆษณาว่าทำการประมวลผล Texture Unit ได้เร็วขึ้น 6 เท่า และเรนเดอร์ Android UI ได้เร็วกว่าเดิมสองเท่าด้วยกัน

โดยปกติแล้วหลังจากชิปเหล่านี้เปิดตัว ไลเซนส์ในการผลิตจะถูกขายให้ผู้ผลิตรายต่างๆ (เช่น MediaTek, Qualcomm, Samsung, Unisoc) ก่อนจะถูกนำไปผลิตเป็น SoC อีกทีหนึ่ง ทำให้ช่วงเวลาหลังจาก ARM เปิดตัวจนถึงเห็นใช้ในมือถือจะอยู่ห่างกันราวๆ 1 – 1.5 ปีครับ

ที่มา – GSMArena

 

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save