PR News

ททท. เดินหน้าสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบใหม่ เปิดตัวโครงการ Amazing Thailand Metaverse

Amazing Durian ยกสวนทุเรียนเข้าเมตาเวิร์ส (Metaverse) หวังดึงนักท่องเที่ยวกลุ่ม New Wealth เที่ยวประเทศไทย

(28 เมษายน 2565) นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ Amazing Thailand Metaverse : Amazing Durian โดยได้รับเกียรติจาก นายอนุรัตน์ ธรรมประจาจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายนิธี สีแพร รองผู้ว่าการด้านดิจิทัล วิจัย และพัฒนา ททท. และนายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว ททท. พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมงานเพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเข้าสู่เมตาเวิร์ส (Metaverse) ปูทางไลฟ์สไตล์ด้านการท่องเที่ยวแบบใหม่ผ่านโมเดลต้นแบบ “สวนทุเรียนเสมือนจริง” ณ โรงภาพยนตร์ NT First Class 2 SF World Cinema ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์


นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยและทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งถือเป็นวิกฤตต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้วิกฤตที่เกิดขึ้นยังคงมีโอกาสในการพัฒนา เพื่อพลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้สามารถฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งและพร้อมที่จะสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวทั่วโลก ซึ่ง ททท. มองเห็นโอกาสในการนาเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างมูลค่าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้ยั่งยืน เช่น การใช้เงินสกุลดิจิตอลมาเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เพื่อสร้างให้เกิด Tourism Metaverse หรือพื้นที่เสมือนจริงสาหรับแพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยว เพื่อสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างทางการท่องเที่ยวแบบใหม่ และมีโอกาสในการเพิ่มสัดส่วนนักท่องเที่ยวคุณภาพที่มีกำลังซื้อสูง เต็มใจใช้จ่ายเพื่อตอบสนองคุณค่าของประสบการณ์ จึงเป็นที่มาของโครงการ Amazing Thailand Metaverse : Amazing Durian ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้มีโอกาสศึกษา เรียนรู้ ทดลองทาจริงไปพร้อมกัน และสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ให้แก่นักท่องเที่ยว โดยมี “สวนทุเรียน” เป็นธุรกิจนำร่องในการเชื่อมโยงจากโลกเสมือนสู่โลกจริงโดยใช้แพลตฟอร์ม Web 3 เข้ามากระตุ้นการท่องเที่ยว

ทั้งนี้ ทุเรียนเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของไทยและเป็นผลไม้ที่ทุกคนรอคอย ประกอบกับเป็นฤดูกาลที่ผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาด ททท. จึงได้นำทุเรียนสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งสายพันธุ์ที่เห็นได้ทั่วไปตามท้องตลาด เช่น พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี หรือ สายพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เช่น พันธุ์หมอนทองภูเขาไฟ พันธุ์หลง หลินลับแล นอกจากนี้ยังมีทุเรียนในแต่ละท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือที่เรียกว่าทุเรียน GI มารวมไว้ใน Metaverse โดยให้ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมถึงนักท่องเที่ยว ได้มีโอกาสศึกษา เรียนรู้ ทดลองทำจริงไปพร้อมกัน

โครงการ Amazing Thailand Metaverse : Amazing Durian เป็นโครงการที่นาไปสู่การต่อยอด การท่องเที่ยวอัจฉริยะ (Smart Tourism) ที่จะสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ที่ทาให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกได้ออกไปสัมผัส สวนทุเรียนหลากหลายสายพันธุ์แล้วบนพื้นที่เสมือนจริง อีกทั้งยังมีการประยุกต์สินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ใน การส่งเสริมการท่องเที่ยวตามแผนกลยุทธ์ของททท. ที่มุ่งส่งเสริมเทคโนโลยีดิจิทัลในระบบนิเวศการท่องเที่ยวไทย และในอนาคตมีโอกาสดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่ม Durian Lover และกลุ่มผู้ถือครองสินทรัพย์ดิจิทัล (New Wealth) รวมทั้งช่วยเหลือผู้ประกอบการในการดาเนินธุรกิจในภาวะฟื้นฟูและยกระดับขีดความสามารถ ด้านเทคโนโลยีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงความร่วมมือจากสวนทุเรียนที่มีคุณภาพและมีความสนใจในสินทรัพย์ดิจิทัลเข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นธุรกิจต้นแบบในการดาเนินธุรกิจรูปแบบ Web 3.0 โดยโครงการได้มีการจัดอบรมจากผู้เชี่ยวชาญ ในการให้ความรู้ด้านเทคนิค การส่งเสริมการขายและการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ Metaverse กับสวนทุเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ และจัดให้มีพี่เลี้ยงคอยให้คาแนะนาและปรึกษาตลอดทั้งโครงการ ปัจจุบันมีสวนทุเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ สวนอรุณบูรพา สวนเคพี การ์เดนท์ จังหวัดจันทบุรี สวนละไม สวนสุภัทราแลนด์ จังหวัดระยอง สวนอิงธาร จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งในอนาคตคาดว่าจะมีสวนทุเรียนให้ความสนใจและทยอยเข้ามาในโลกของ Metaverse Durian ต่อไป

สำหรับ Metaverse Durian เป็นแพลตฟอร์มที่มีการจำลองสวนทุเรียนโดยอ้างอิงจากพื้นที่สวนจริง โดยมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์ทุเรียนและข้อมูลสวนทุเรียนผ่านโลกเสมือนจริงโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์แว่น VR ถือเป็นต้นแบบการทำ Animation on Web 3 ที่แรกของประเทศไทย ประกอบด้วย ระบบการสร้างตัวตน (Avatar) ที่นักท่องเที่ยวสามารถเลือกออกแบบเองได้ตามความต้องการ สามารถรองรับผู้ใช้ (User) ที่เข้าพร้อมกันได้หลายร้อย User มีกิจกรรมในรูปแบบ Gamification ให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมสนุก สะสมเหรียญโทเคนหรือไอเทม เพื่อนำไปอัพเกรดความสามารถของตัวละครภายในเกมเพื่อแลกรับส่วนลดที่พัก สินค้าและบริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ในรูปแบบ E-voucher เพื่อนำไปสู่การเดินทางในพื้นที่จริง อันก่อให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศและกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในระบบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไปพร้อมกัน นอกจากนี้ ททท. ร่วมกับเจ้าของสวนทุเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ และ Creator ชื่อดัง จัดทำ NFT Collection Amazing Durian in Metaverse เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถซื้อและมีสิทธิ์เป็นเจ้าของทุเรียนในฤดูกาลนี้ได้เป็นที่แรกของโลก พร้อมสิทธิประโยชน์อื่น ๆ มากมายตามเงื่อนไขที่กำหนด

นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมสวนและร่วมสนุกกับประสบการณ์ท่องเที่ยวแบบใหม่ได้ฟรี พร้อมทั้งสามารถซื้อและสะสม NFT Collection Amazing Durian in Metaverse ได้แล้วตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 31 สิงหาคม 2565 ผ่านทาง www.amazingthailandmetaverse.com จากอุปกรณ์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ iOS, Android หรือคอมพิวเตอร์พีซี

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสวนทุเรียนที่สนใจสามารถติดต่อเข้าร่วมโครงการ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานกลยุทธ์ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กองวางแผนลงทุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ฝ่ายส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ททท. โทรศัพท์ 0 2250 5500 ต่อ 2940 2945 หรือ www.amazingthailandmetaverse.com หรือ Facebook Page: AmazingThailandMetaverse

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save