News & Update

EU กำหนดมือถือต้องมีชิ้นส่วนซ่อม 5 ปี แบตเตอรีต้องดีกว่าปัจจุบัน

EU หรือสหภาพยุโรปเตรียมผ่านร่างบังคับให้ผู้ผลิตมือถือและแทบเล็ตต้องมีชิ้นส่วนอะไหล่ซ่อมอย่างน้อย 5 ปี เพื่อลดขยะอิเล็กทรอนิกส์จากการซื้อรุ่นใหม่โดยไม่จำเป็น

EU regulator target smartphone

ในดราฟท์ฉบับแรกนี้ระบุว่าปัญหาของโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์ไร้สาย (ในกรณีนี้หมายถึงโทรศัพท์บ้าน) และแทบเล็ตในปัจจุบันคือผู้ใช้งานไม่สามารถซ่อมด้วยตัวเองได้ และเมื่อหมดอายุการใช้งานแล้วก็ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่ใช้ในการผลิตนั้นก็มากเกินกว่าจะให้อุปกรณ์เหล่านั้นวางทิ้งไว้เฉยๆ หลังหมดอายุการใช้งาน การต่ออายุให้สมาร์ทโฟนมีอายุยืนยาวขึ้นเป็นห้าปีย่อมเทียบเท่ากับการลดจำนวนรถบนท้องถนนได้ถึง 5 ล้านคัน

ในเงื่อนไขเพื่อเป้าหมายดังกล่าว นอกจากผู้ผลิตมือถือจะต้องมีอะไหล่เอาไว้ซ่อมแซมแล้ว ยังต้องมีบริการซ่อมในกรณีที่ผู้ใช้งานไม่ต้องการจะซ่อมเองอีกด้วย โดยในดราฟท์ไม่ได้บังคับว่าผู้ผลิตจะต้องเป็นผู้ซ่อมเอง อาจจะเปิดโครงการรับรองร้านภายนอกที่ได้รับมาตรฐานเป็นผู้ซ่อมก็ได้ โดยชิ้นส่วนอะไหล่ที่ EU กำหนดว่าจะต้องมีให้ภายใน 5 ปีก็ได้แก่

  • แบตเตอรี
  • หน้าจอ
  • กล้อง
  • ช่องเสียบชาร์จไฟ
  • ปุ่มกดต่างๆ
  • ไมโครโฟน
  • ลำโพง
  • ข้อต่อฝาพับ (สำหรับมือถือพับได้)

เรื่องถัดมาคือแบตเตอรี โดย EU ระบุว่าผู้ผลิตจะต้องเลือก ระหว่างทำให้มือถือถอดเปลี่ยนแบตเตอรีได้ หรือผ่านมาตรฐานที่ทาง EU กำหนดเอาไว้ คือเมื่อชาร์จไฟครบ 500 Full Cycle จะต้องเก็บพลังงานได้ 83% และเมื่อครบ 1000 Full Cycle จะต้องยังเก็บพลังงานได้ 80% ทั้งนี้มือถือในปัจจุบันที่เป็น Li-ion จะเก็บพลังงานได้เพียง 80% หลังจากใช้งานไป 500 Full Cycle

จอกจากเรื่องอะไหล่แล้วฝั่งซอฟท์แวร์เองก็ระบุว่าต้องได้รับแพทช์อัพเดทใหญ่อย่างน้อย 3 ปี และแพทช์ความปลอดภัยอย่างน้อย 5 ปี (แปลว่าหลังจากอัพเดทใหญ่หมดไปแล้ว ยังต้องได้รับแพทช์ความปลอดภัยอีก 2 ปีหลังจากนั้น) และแพทช์ทั้งสองประเภทต้องออกภายใน 2 – 4 เดือนหลังจากมีการประกาศช่องโหว่สู่สาธารณะ

เรื่องสุดท้ายคือการซ่อม ทาง EU ระบุว่าผู้ผลิตต้องทำคู่มือสำหรับการซ่อมด้วยตัวเอง และเปิดเผยเอกสารเหล่านี้ให้เข้าถึงได้ 7 ปีนับจากเลิกทำการตลาดอุปกรณ์นั้นๆ และเปิดรับให้ผู้เชี่ยวชาญลงทะเบียนเป็นผู้ซ่อมที่ได้รับการรับรองได้ โดยเอกสารจะต้องมีรายละเอียดครบถ้วน ไม่ว่าเป็นชิ้นส่วนภายใน แผงวงจร การเดินสายไฟ และถ้าหากต้องใช้ซอฟท์แวร์เฉพาะในการซ่อมแซมก็ต้องเปิดให้ผู้ใช้งาน หรือร้านที่ได้รับการรับรองเข้าถึงด้วย

ทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงดราฟท์แรก และหน่วยงานยังเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้ผลิตต่างๆ จนกระทั่งวันที่ 28 กันยายนนี้ ถ้าหากไม่มีการแย้งก็จะเริ่มใช้งานภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ และจะเริ่มบังคับใช้ให้ทำตามเงื่อนไขภายใน 12 เดือนหลังจากนั้น

แน่นอนว่าฝั่งผู้ผลิตต่างก็โอดครวญถึงความเข้มของกฏหมายยุโรปกันไปตามๆ กัน อย่าง Xiaomi เองก็ได้ให้ความเห็นในเรื่องของการอัพเดทซอฟท์แวร์ว่าปัญหาในตอนนี้คือหลายครั้ง การอัพเดทขึ้นอยู่กับผู้ผลิตชิ้นส่วนต่างๆ และหลายครั้งผู้ผลิตเหล่านี้ก็ไม่อัพเดทซอฟท์แวร์ (ไดร์เวอร์) ให้เข้ากับระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆ ทำให้ไม่สามารถอัพเกรดขึ้นไปได้ ส่วนเรื่องการซ่อมแซมนั้นให้ความเห็นว่าการซ่อมจะต้องทำที่ร้านหรือบุคคลที่ได้รับการรับรอง รวมไปถึงต้องใช้ชิ้นส่วนแท้ในการซ่อมแซม เพื่อควบคุมและการันตีคุณภาพและความสเถียรในการใช้งาน การเปิดให้มือสมัครเล่นที่ไม่มีความเข้าใจในเชิงเทคนิคเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงในแง่ของคุณภาพการทำงาน และความปลอดภัยในการใช้งานได้

ที่มา – Ars Technica

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save