Article

ปัจจัยหลักที่ทำให้สมาร์ทโฟนตัวโปรด มีเสียงดี ไพเราะ เสนาะจับใจ

Smartphone Sound

เราขอเสนอ ปัจจัยหลักที่ทำให้สมาร์ทโฟนตัวโปรด มีเสียงดี ไพเราะ เสนาะจับใจ ว่าจะมีอะไรบ้าง แล้วควรปรับแต่งแก้ไขอย่างไร หากพร้อมแล้ว ไปชมกันเลยครับ

ทุกวันนี้เราคงปฏิเสธกันไม่ได้แล้วว่า การฟังเพลงแทบจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนต้องการ ซึ่งสมาร์ทโฟนแทบทุกรุ่นก็ฟังเพลงได้อยู่แล้ว ซึ่งถ้าใครอยากได้เครื่องที่เน้นฟังเพลง ขับเสียงได้ไพเราะ ราคาก็จะสูงขึ้นกว่าปกติ ส่วนใครที่งบไม่ถึงแต่อยากฟังเพลงเพราะๆ ก็ซื้อเครื่องราคากลางๆ แล้วปรับแต่งค่าเสียงเอาเท่าที่ได้ แน่นอนว่า แทบทุกคนอยากให้สมาร์ทโฟนของตัวเองมีเสียงที่ไพเราะ ถึงแม้ว่าจะใช้รุ่นราคาไม่แพงก็ตาม วันนี้ เราขอเสนอ ปัจจัยหลักที่ทำให้สมาร์ทโฟนตัวโปรด มีเสียงดี ไพเราะ เสนาะจับใจ ว่าจะมีอะไรบ้าง แล้วควรปรับแต่งแก้ไขอย่างไรเพื่อให้เสียงเพลงไพเราะยิ่งขึ้น หากพร้อมแล้ว ไปชมกันเลยครับ

ปัจจัยหลักที่ทำให้สมาร์ทโฟนตัวโปรด มีเสียงดี ไพเราะ เสนาะจับใจ

 

ไดร์ฟเวอร์

เมื่อสัญญาณเสียงถูกส่งมาตามสายทองแดง (สายไฟของลำโพงหรือสายหูฟัง) ไดร์ฟเวอร์ที่อยู่ในลำโพงหรือหูฟังจะทำหน้าที่เป็นตัวขับสัญญาณไฟฟ้า ให้ออกมาเป็นสัญญาณเสียงที่เราได้ยินกันนั่นเอง ซึ่งไดร์ฟเวอร์จะมีอยู่หลายแบบขึ้นอยู่กับความชอบและจุดประสงค์ของการใช้งาน เช่น แบบ Dynamic Driver ที่เน้นเสียงเบสเป็นหลัก และสามารถขับเสียงเบสออกมาอย่างมีพลัง หรือแบบ Balance Armature ที่เน้นเสียงแหลมใสไม่เน้นเสียงเบส และตัวไดร์ฟเวอร์มีขนาดเล็กกว่า เป็นต้น

DAC (Digital to Analog Converter)

DAC เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากดิจิตอลไปเป็นอนาล็อก เพื่อส่งไปยังภาคขยายเสียงหรือแอมป์ แล้วส่งสัญญาณอนาล็อกที่ได้ไปยังลำโพงหรือหูฟังต่อไปเพื่อให้ผู้ใช้ได้ยินเสียงนั่นเอง โดยปกติสมาร์ทโฟนทุกรุ่นจะมีชิพ DAC อยู่ที่แผงเมนบอร์ดอยู่แล้ว แต่การใช้ DAC แยกนั้นจะมีกระบวนการแปลงสัญญาณทีดีกว่า และการใช้ DAC แยกออกมาจะช่วยลดสัญญาณไฟฟ้ารบกวนจากอุปกรณ์อื่นๆ บนเมนบอร์ด เช่น CPU ทำให้เสียงที่ได้นั้นดีขึ้น เก็บรายละเอียดของเครื่องดนตรีต่างๆ ในเพลงได้มากกว่าปกติ (เปรียบเทียบกับการใช้การ์ดจอแยก ย่อมให้ภาพที่ดีกว่าการใช้การ์ดจอเมนบอร์ดอยู่แล้ว)

บิทเรต

บิทเรตคือปริมาณข้อมูลที่ส่งออกมาในหนึ่งหน่วยเวลา ยิ่งมีบิทเรตเยอะ การเก็บรายละเอียดของข้อมูลก็จะมากขึ้นไปด้วย สำหรับไฟล์เพลงแล้ว ถ้าบิตเรตเยอะ เสียงเพลงที่ได้ก็จะยิ่งไพเราะเพราะมีการเก็บรายละเอียดของเสียงได้เยอะกว่า (เช่น เก็บเสียงของเครื่องดนตรีได้เยอะกว่า รวมไปถึงการทำมัลติแชนแนล) สำหรับฟอร์แมตที่เรารู้จักกันดีอย่าง mp3 นั้น หลักๆ แล้วจะมีบิทเรตหลายระดับ เช่น 128, 192, 256, 320 kbps (บิทเรตของฟอร์แมตอื่นๆ ก็จะแตกต่างกันออกไป) หากใช้อุปกรณ์ฟังเพลงคุณภาพดีหน่อยก็จะแยกความแตกต่างของเสียงได้ ส่วนใครที่เคยฟังเพลง mp3 ด้วยบิทเรตที่ต่ำกว่า 128 kbps จะเข้าใจเป็นอย่างดีว่ามิติเสียงของเพลงที่ได้นั้น มันแย่อย่างไร

 

การบีบอัดไฟล์ (ฟอร์แมต)

การบีบอัดไฟล์จะมีสองแบบ คือ Lossy (สูญเสียความละเอียดบางส่วน) และ Lossless (ไม่สูญเสียความละเอียด) ในที่นี้จะพูดถึงฟอร์แมตที่เป็นไฟล์เสียงเท่านั้น มีอยู่ 2 แบบคือ

  1. Lossy ข้อดีคือ ไฟล์มีขนาดเล็ก ขึ้นอยู่กับบิทเรต (เนื่องจากตัดย่านความถี่เสียงที่มนุษย์ไม่ได้ยินออกไป) ข้อเสียคือ มีการสูญเสียของข้อมูลไปบ้างเพื่อลดขนาดของไฟล์ เช่น MP3
  2. Lossless ข้อดีคือ ไม่มีการสูญเสียใดๆ จึงทำให้รายละเอียดของเสียงดนตรียังอยู่ครบ และสามารถแปลงไปเป็นฟอร์แมตอื่นๆ ที่เป็น Lossless ด้วยกันได้โดยไม่เสียความละเอียดอีกด้วยแม้แต่นิดเดียว ข้อเสียคือ ไฟล์มีขนาดใหญ่ เช่น FLAC, M4A

 

ตำแหน่งของลำโพง

ใครที่ชอบฟังเพลงผ่านหูฟังเป็นหลัก อาจจะไม่ต้องสนใจข้อนี้ แต่ใครที่ชอบฟังผ่านลำโพงอยู่บ่อยๆ ข้อนี้ไม่ควรละเลย เพราะบางคนอาจจะไม่รู้ ว่าสมาร์ทโฟนที่ตัวเองใช้อยู่อาจจะมีลำโพงมากกว่า 1 จุด ซึ่งตำแหน่งของลำโพงจะส่งผลต่อมิติของเสียงพอสมควร รวมไปถึงการจัดวางสมาร์ทโฟนในขณะที่ฟังเพลงด้วย หากลำโพงอยู่ด้านหลังเครื่องแล้วเผลอวางเครื่องแบบหงายหน้า ช่องลำโพงจะถูกตัวเครื่องกดทับทำให้เสียงออกมาไม่เต็มที่ หรือถ้าสมาร์ทโฟนของเราเป็นลำโพงสเตอรีโอ การหันลำโพงเข้าหาตัวเราจะทำให้เสียงมีมิติ

สมาร์ทโฟนตัวโปรด

การตั้งค่าของแอพฟังเพลง (ขึ้นอยู่กับแอพ)

สำหรับใครที่ใช้แอพสตรีมมิ่งในการฟังเพลงเป็นประจำ เช่น JOOX สามารถปรับคุณภาพของเสียงที่จะฟังได้ ขึ้นอยู่กับแพ็คเกจที่เรามีอยู่ในขณะนั้น เช่น หากเป็น VIP ก็จะสามารถฟังเพลงด้วยความละเอียดที่สูงขึ้นได้ เช่น DTS เพียงแต่อาจจะต้องเสียเวลาบ้างตอนแชร์เพลงบนเฟสบุ้ค เพื่อให้ได้สิทธิ์ VIP เป็นต้น ส่วนแอพอื่นๆ นั้น อาจจะมีให้ปรับความละเอียดของเพลงหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับแอพ (การสตรีมเพลงที่ความละเอียดสูงก็จะกินดาต้าอินเทอร์เน็ตมากตามเช่นกัน)

อีควอไลเซอร์

สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่มักจะตั้งค่าเสียงเป็น default ซึ่งคุณภาพเสียงที่ได้ถือว่าธรรมดาและมีตัวเลือกให้ปรับได้ไม่เยอะนัก เมือเทียบกับการปรับอีควอไลเซอร์ (EQ) จากแอพแยก ซึ่งเราสามารถปรับแต่งช่วงเสียงให้เหมาะสมกับเราได้เองตามใจชอบ (ต้องมีพื้นฐานการปรับแต่งเสียงบ้าง ไม่งั้นเสียงจะแย่ลง) เช่น อยากได้เบสเยอะ ก็ไปปรับช่วงความถี่เสียงที่เน้นเบส เป็นต้น หรือถ้าปรับไม่เป็นก็ยังมี EQ แบบ Preset มาให้เลือกหลากหลายแบบ เช่น แจ๊ส, ป๊อป, ร็อค, คลาสสิค เป็นต้น

สำหรับใครที่อยากติดตามบทความดี ๆ หรือข่าวสารใหม่ ๆ ก็สามารถกดไลค์เพจ WhatPhone.net หรือเข้ามาพูดคุยกันได้ที่ WhatPhone – Commu ได้เลยครับ

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save