News & Update

ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2557 เน้น Social Network สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภัยทางออนไลน์

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2557 (Thailand Internet User Profile 2014) โดยได้มีการผนวกคำถามพิเศษเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2557 (Thailand Internet User Profile 2014) โดยได้มีการผนวกคำถามพิเศษเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ อาทิ โทรศัพท์เคลื่อนที่ สมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ซึ่งเน้นพฤติกรรมการใช้งานที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภัยทางออนไลน์ พบคนไทยเล่น Social Network เป็นอันดับแรก เน้นการเช็คอิน โพสต์รูปถ่าย และการตั้งค่าโชว์สถานะ

14083443081408344332l

การสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจทางอินเทอร์เน็ต สพธอ.ได้เริ่มวางแบบสำรวจบนเว็บไซต์ต่างๆ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ ตั้งแต่กลางเดือนเมษายน จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2557 มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสนใจเข้ามาตอบแบบสำรวจทั้งสิ้น 16,596 คน ซึ่งหลังจากทำการประมวลผลพบว่าพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อสัปดาห์เพิ่มสูงขึ้นจากการใช้งานโดยเฉลี่ย 32.3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือใช้เวลาโดยประมาณ 4.6 ชั่วโมงต่อวัน ในปี 2556 เพิ่มขึ้นเป็น 50.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือใช้เวลาโดยประมาณ 7.2 ชั่วโมงต่อวัน หรืออาจจะกล่าวได้ว่าปัจจุบันนี้ คนใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ของวันเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังพบว่า “กลุ่มเพศที่สาม” มีจำนวนชั่วโมงการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 62.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความบันเทิง และการติดต่อสื่อสาร โดยกิจกรรมหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 ใช้เพื่อการพูดคุยผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ร้อยละ 78.2 อันดับ 2 ใช้เพื่ออ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 57.6 และอันดับ 3 ใช้เพื่อค้นหาข้อมูล ร้อยละ 56.5 ในขณะที่ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ ใช้อินเทอร์เน็ตในกิจกรรมที่ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูล โดยมีกิจกรรมหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 ใช้เพื่อรับ – ส่งอีเมล ร้อยละ 82.6 อันดับ 2 ใช้เพื่อค้นหาข้อมูล และอ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 73.3 และอันดับ 3 ใช้เพื่ออ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 63.8 และยังพบอีกว่า กลุ่มเพศที่สาม เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Device) มากกว่ากลุ่มอื่นๆ ในหลายกิจกรรม ได้แก่ การใช้งานสังคมเครือข่ายออนไลน์ (ร้อยละ85.6), การอ่านติดตามข่าวสารและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 64.7) การซื้อขายสินค้าและบริการ (ร้อยละ 39.1) ในขณะที่ กลุ่มเพศหญิง มีสัดส่วนการเล่นเกมออนไลน์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่มากกว่ากลุ่มอื่นๆ (ร้อยละ 52.6)

พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่สุ่มเสี่ยง จากผลการสำรวจ พบว่า กิจกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตยอดนิยม 3 อันดับแรกของคนในปัจจุบันที่ค่อนข้างสุ่มเสี่ยง อันดับ 1 ได้แก่ การเช็คอินผ่าน Facebook (ร้อยละ 71.5) อันดับ 2 การแชร์รูปภาพส่วนตัวในสถานะสาธารณะ (ร้อยละ 70.7) และอันดับ 3 การตั้งค่าโชว์สถานะในสังคมออนไลน์เป็นสาธารณะ (ร้อยละ 62.3) โดยกลุ่มเพศที่สาม มีสัดส่วนของกิจกรรมดังกล่าวสูงกว่าเพศชายและเพศหญิง กล่าวคือ การเช็คอินผ่าน Facebook (ร้อยละ 85.1), การแชร์รูปภาพส่วนตัวในสถานะสาธารณะ (ร้อยละ78.1), การโชว์สถานะในสังคมออนไลน์เป็นสาธารณะ (ร้อยละ73.0) รวมทั้งการให้ข้อมูลส่วนตัว โดยไม่ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ (ร้อยละ 50.7) นอกจากนี้กลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 15 – 24 ปี จะแชร์รูปภาพส่วนตัวในสถานะสาธารณะ และตั้งค่าโชว์สถานะในสังคมออนไลน์เป็นสาธารณะ มากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ

ในขณะที่กลุ่มผู้ที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนของการแชร์ภาพ/ส่งต่อภาพ โดยไม่ตรวจสอบสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนดังกล่าวสูงที่สุด (ร้อยละ 30.1)

พฤติกรรมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ และพฤติกรรมกำรใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่สุ่มเสี่ยง พบว่าจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ตอบแบบสำรวจทั้งสิ้น 16,596 คน เป็นผู้ใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่สูงถึง 15,265 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 92.0 ซึ่งสัดส่วนการใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่สูงดังกล่าวน่าจะมาจากการที่สมาร์ตโฟนได้กลายมาเป็นอุปกรณ์ข้างกายของคนในปัจจุบันนี้ ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ซื้อสินค้าออนไลน์ร้อยละ 38.8 และทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ ร้อยละ 29.8

ขณะที่พฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่สุ่มเสี่ยง พบว่ามีผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ตั้งค่ารหัสผ่านก่อนเข้าใช้งานเครื่องและมีการลบข้อมูลที่สำคัญในเครื่องทิ้ง ก่อนยุติการใช้เครื่อง คิดเป็นร้อยละ 75.0 และ 62.9 ตามลำดับ ในขณะที่สัดส่วนของผู้ที่ตอบว่ามีการติดตั้งโปรแกรม Anti-Virus กับไม่มีการติดตั้ง เนื่องจากไม่ทราบวิธีการกำหนด/ไม่แน่ใจ มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 48.9 และ 51.1

 

Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save