News & Update

นักวิจัยด้านความปลอดภัยพบช่องโหว่ใน Snapdragon กว่า 400 จุด ทาง Qualcomm เร่งแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าว

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าชิป Qualcomm ถือเป็นชิปที่ได้รับความนิยมสูง ณ ตอนนี้มีมือถือราวๆ  3,000 ล้านเครื่องทั่วโลกใช้งานชิปในตระกูล Snapdragon รุ่นใดรุ่นหนึ่งอยู่

Qualcomm Snapdragon

เมื่อมีผู้ใช้งานเยอะ ช่องโหว่ที่แม้จะเล็กน้อยก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับแฮคเกอร์ เนื่องจากสามารถใช้กับเหยื่อได้จำนวนมาก ทาง Check Point Security พบช่องโหว่ราวๆ 400 จุดในชิป DSP (Digital Signap Processor) ของ Qualcomm ทำให้ผู้ผลิตมือถือไม่ว่าจะเป็น Gogole, Samsung, LG, Xiaomi, OnePlus, OPPO, Vivo ต่างได้รับผลกระทบหมดทุกราย โดยช่องโหว่นี้ถูกตั้งชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า Archilles

ถ้าถามว่าช่องโหว่เหล่านี้แฮคเกอร์สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง ก็ตอบเลยว่าเพียบ แต่สรุปหมวดหมู่การโจมตีออกมาได้ดังนี้

  • ผู้โจมตีสามารถเปลี่ยนโทรศัพท์ให้กลายเป็นเครื่องดักฟังสมบูรณ์แบบ โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องเผลอทำอะไรที่เปิดช่องให้คนร้ายเข้ามาควบคุมเลย ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย วิดิโอ เสียงที่คุยโทรศัพท์ เปิดไมโครโฟนแอบฟังเมื่อไหร่ก็ได้ รวมไปถึงตำแหน่ง GPS
  • ผู้โจมตีสามารถทำให้โทรศัพท์มือถือใช้งานไม่ได้ ทำให้ข้อมูลในเครื่องสูญหายหมด เข้าสู่สภาพ DoS (Denial of service)
  • มัลแวร์สามารถแอบซ่อนตัวอยู่ในมือถือ และทำให้ไม่สามารถลบทิ้งได้แม้จะถูกตรวจพบก็ตาม

ทาง Qualcomm รับทราบถึงช่องโหว่เหล่านี้ใน DSP แล้ว และแจ้งผู้ผลิตมือถือให้อัพเดทแพทช์ที่ทาง Qualcomm แก้ให้เร็วที่สุด โดยช่องโหว่เหล่านี้ได้รับ CVE จำนวนมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น

  • CVE-2020-11201
  • CVE-2020-11202
  • CVE-2020-11206
  • CVE-2020-11207
  • CVE-2020-11208
  • CVE-2020-11209

ณ ตอนนี้ทาง Check Point ยังไม่เผยรายละเอียดช่องโหว่ทั้งหดออกมา เนื่องจากรอให้บรรดาผู้ผลิตมือถือทั้งหลายออกแพทช์ความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานก่อน แต่ก็ได้ตีพิมพ์ประกาศถึงช่องโหว่ให้สื่อมวลชนและประชาชนรับทราบ เพื่อกดดันให้ผู้ผลิตมือถือเร่งออกแพทช์ความปลอดภัย

ถ้าถามว่า DSP นั้นมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง ตัวมันมีหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอล (ทั้งไปและกลับ) โดยมักจะฝังตัวอยู่ใน SoC กับชิปอื่นๆ เช่น CPU, GPU นั่นเอง หน้าที่ที่เราพอจะอธิบายแล้วเห็นภาพได้ก็

  • ทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายไฟ (เช่น Quick Charge)
  • ทำการประมวลผลภาพ วิดิโอ เช่นการอัดภาพวิดิโอ การเรนเดอร์ AR ขึ้นบนหน้าจอ
  • ทำการประมวลผลไฟล์เสียงแทบทุกชนิด

โดยปกติแล้ว DSP มักจะเป็นกล่องแห่งความลับที่มีเพียงผู้ผลิตเท่านั้นที่รู้ว่ามันออกแบบอย่างไร และถูกใช้งานอย่างไรบ้าง โดยมือถือแต่ละรุ่นก็มีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ทำให้หลายครั้งผู้ผลิตไม่คิดว่าจะถูกใช้โจมตี จึงไม่ได้วางระบบความปลอดภัยที่รัดกุมเพียงพอ

ที่มา – Checkpoint

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save