Article

Emoji ภาษาแห่งศตวรรษที่ 21 | Monza

หากถามว่าภาษาอะไรมียอดผู้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในตลอดหลายปีที่ผ่านมานี้? บางคนก็ว่าภาษาจีน เพราะเป็นภาษาที่กำลังมาแรง บ้างก็ว่าภาษาอิสลาม เพราะพบบ่อยในข่าวผู้ก่อการร้าย แต่จริงๆ

หากถามว่าภาษาอะไรมียอดผู้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในตลอดหลายปีที่ผ่านมานี้? บางคนก็ว่าภาษาจีน เพราะเป็นภาษาที่กำลังมาแรง บ้างก็ว่าภาษาอิสลาม เพราะพบบ่อยในข่าวผู้ก่อการร้าย แต่จริงๆ แล้วทุกคนอาจจะไม่รู้ว่าภาษานี้เราไม่ต้องเรียนรู้แต่ก็สามารถใช้สื่อสารหากันและกันได้ ไม่ว่าคนที่คุยด้วยนั้นจะเป็นคนประเทศอะไรก็ตาม ภาษาที่ว่านี้ก็คือ ภาษาอีโมจิ!

2015-11-21_16-22-04

อีโมจิ (Emoji) ได้ถูกจัดอันดับให้กลายเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมป็อปที่ทรงพลังงานยาวนานหลายทศวรรษ และเพราะไม่ว่าชาติใดภาษาไหนก็ล้วนแต่สื่อสารกันผ่านอีโมจิทั้งนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า “อีโมจิ” ได้กลายเป็นเพื่อการสื่อสารแห่งศตวรรษที่ 21 ไปเสียแล้ว

2015-11-21_16-14-55

คอลัมน์ Mobile Insider ในฉบับนี้จึงขอพาคุณมาเจาะลึกที่มาและอิทธิผลของภาษาใหม่ไฮเทคอย่าง “อีโมจิ” กับคน GEN Mo ทั่วโลกกันเลย!

กำเนิดอีโมจิ

all

all2

 絵文字 อ่านว่า เอ่โม้จิ ในภาษาญี่ปุ่น (หรือภาษาจีนกลางอ่านว่า หุ้ยเหวินจึ) แปลว่า “ตัวอักษรรูปภาพ (Pictograph)” ถูกคิดค้นเพื่อการสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะ และถือกำเนิดเป็นครั้งแรกในปี1999 โดย 3 ค่ายมือถือของญี่ปุ่น KDDI, Softbank, NTT DoCoMo ได้รวมใจกันออกแบบอีโมติค่อนรุ่นแรกเพื่อใส่ไว้ในแป้นพิมพ์ของมือถือทุกรุ่นที่ตัวเองผลิตขึ้น เพื่อหวังให้คนใช้มือถือสามารถสื่อสารหากันได้ไวขึ้น (เพราะการบอกถึงความรู้สึกบางครั้งต้องอธิบายยาวมากๆ แต่ SMS ภาษาเอเชียส่งได้ครั้งละเพียง 70 ตัวอักษร แต่ภาพอีโมจิภาพเดียวก็ทำให้เข้าใจได้ทันที) และเพิ่มความรู้สึกน่ารัก ฟรุ้งฟริ้งในการใช้มือถือมากยิ่งขึ้นตามแบบฉบับวัฒนธรรมสุดคิกขุของญี่ปุ่น

อีโมจิไม่ใช่อีโมติค่อนนะจ๊ะ

emoticon

ก่อนหน้านี้เราอาจจะเคยได้ยินชื่อ “อีโมติค่อน (Emoticon)” ซึ่งก็คือ ภาษาภาพเหมือนกัน แต่ อีโมติค่อน มีความต่างกับอีโมจิอย่างมีนัยสำคัญ นั่นก็เพราะอีโมติค่อน ใช้อักขระบนแป้นพิมพ์ผสมกันเพื่อสื่อความแสดงออกถึงอารมณ์ ทัศนคติ และท่าทาง เช่น 🙂 หมายถึงยิ้ม และ 🙁 หมายถึงการไม่สบอารมณ์เป็นต้น หรือบางคนรู้จักสร้างสรรค์สร้างภาพที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น _/l\_ หมายถึงสวัสดี และ (“)(-_-)(“) การยอมแพ้ เป็นต้น

ส่วนอีโมจิ (Emoji) จะวาดเป็นภาพการ์ตูนขึ้นมาเลย ทำให้เห็นชัดเจนกว่า ซึ่งรูปภาพส่วนใหญ่ก็จะสะท้อนอารมณ์ และท่าทางของผู้ส่ง รวมไปจนถึงภาพสิ่งของรอบตัวอื่นๆ ในชีวิตประจำวันของเราด้วย เช่น บ้าน สัตว์ นายพาหนะ ป้ายบอกทางต่างๆ

Unicodes Consortium ศูนย์กลางผู้สร้างสรรค์อิโมจิ

unicode

 

สำหรับในอเมริกา ผู้คิดค้นอีโมจิ ก็คือ สมาคมยูนิโค้ด (Unicodes Consortium) ก่อตั้งเมื่อปี 1980 ผู้ซึ่งเดิมทีสร้างภาษายูนิโค้ดที่มีจุดเด่นก็คือ ไม่ว่าจะเป็นภาษาไหน โปรแกรมอะไร ระบบปฏิบัติการอะไร ก็สามารถอ่านตัวอักษรนี้ออกได้ โดยทีมงานนอกจากจะพัฒนาภาษา Unicode ก็ยังเพิ่มเติมอีโมจิลงไปด้วย โดยอันที่จริงแล้วอีโมจิทุกๆ ภาพมีตัวเลขกำกับเฉพาะของตัวเองทั้งสิ้น เช่น ภาพเซลฟี่ (ที่กำลังจะเปิดตัวปีหน้า) มีรหัสคอมพิวเตอร์ประจำตัวคือ 1F933 ซึ่งรหัสเหล่านี้ถูกค่ายมือถือต่างๆ นำไปใช้กับการผลิตแป้นพิมพ์ของตนกันถ้วนหน้า

ปัจจุบันสมาคมยูนิโค้ดมีการประชุมกันทุกไตรมาส โดยมีทีมผู้บริหารมาจากบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ ได้แก่ แอปเปิ้ล เฟสบุ๊ก กูเกิ้ล ฯลฯ มาร่วมวง และแต่ละปีจะมีการเสนอแนวทางให้ออกรหัสสำหรับหรับอีโมจิภาพใหม่ๆ ออกสู่ตลาดปีละ 60 ภาพ และค่ายมือถือ – ค่ายคอมพิวเตอร์แต่ละค่ายจะนำรหัสและภาพความหมายของรหัสไปออกแบบอิโมจิตามสไตล์ตนเอง

differ

อีโมจิไอค่อนพูดแทนใจได้ทันใจ

ลองสังเกตตัวเองว่าเวลาใช้มือถือสื่อสารกับใครๆ ก็ตาม นอกจาสติ๊กเกอร์ไลน์ภาพใหญ่ๆ ที่มีทั้งหน้าดารา การ์ตูนดังแล้ว ที่เรามักใช้สื่อสารกันบ่อยๆ แล้ว เรามักจะใช้อีโมจิส่งไปพร้อมๆ กับข้อความด้วยหรือไม่? หากใช่ คุณเองก็พอบอกได้ว่าทำไม “อีโมจิ” จึงจำเป็นต่อการสื่อสารผ่านหน้าจอ เพราะว่ามัน…

* มีความยืดหยุ่น (ไม่ติดว่าผู้ส่งจะเป็นเพศไหนอายุเท่าใด หากเขียนต้องระบุ ผม ฉัน ค่ะ ครับ) แค่ส่งรูปหน้ายิ้มสีเหลืองๆ ให้เป็นใครๆ ก็เข้าใจว่าเรากำลังแฮปปี้

* ส่งไวทันใจ ภาพ 1 ภาพแทนคำพูดได้เป็นร้อยพัน ยิ่งทุกวันเรายุ่ง เรารีบมากเท่าไหร่ การสื่อสารสั้นๆ ด้วยอีโมจิก็ช่วยประหยัดเวลาไปได้เยอะ

* มีการแฝงอวจัจนภาษาเข้าไปด้วย เพราะอารมณ์ของเรามันซับซ้อน จะให้พิมพ์อธิบายยาวๆ ว่าเรารู้สึกยังไงบางครั้งมันอาจจะไม่ฟินเท่าการส่งใบหน้าอ้อนๆ หรือกวนๆ รูปเดียว

* เปิดกว้างให้อีกฝ่ายตีความ ถึงแม้รูปบางรูปทุกคนอาจจะเข้าใจว่ามันต้องการสื่ออะไร แต่ในบางสถานการณ์ การไม่พูดออกมา แต่แค่ส่งรูปไป ก็ทำให้เปิดกว้างให้กับอีกฝ่ายตีความได้ เช่น ฝ่ายชายถามว่าจีบติดไหม ฝ่ายหญิงได้แต่ส่งภาพ ใบหน้ายิ้มแก้มแดงไปให้โดยไม่พูดสักคำ แค่นี้อีกฝ่ายก็ฝันดีไปทั้งคืน

* ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การส่งภาพน่ารัก แทรกไปกับข้อความ ย่อมจะช่วยให้บริบทของการสื่อสารไม่ตึงเครียดจนเกินไป ซึ่งก็ทำให้ช่องว่างระหว่างเรากับเขายิ่งแคบลงไปด้วย

อีโมจิอัพเกรดวงการมือถือได้จริงๆ

passcode

นอกเหนือจากประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในเชิงของธุรกิจและเทคโนโลยี อีโมจิก็มีส่วนสำคัญในการอัปเกรดนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับวงการมือถือและภาคธุรกิจด้วย อาทิ Intelligent Environments บริษัทเทคฯ จากอังกฤษ ถือเป็นบริษัทแรกที่คิดค้นระบบการรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ด้วยการเลือกอีโมติค่อนแทนตัวเลข (PIN Number) ซึ่งเชื่อว่ายากต่อการแฮคมากยิ่งขึ้น เพราะหลายคนแม้จะตั้งรหัสผ่าน แต่ก็ตั้งซะง่ายจนเดาได้ง่ายๆ อย่าง 1111 0000 เป็นต้น

inmoji1

The Inmoji SDK enables consumers to easily share rich media content from their favorite brands in text conversations via in-message clickable icons called "Inmoji." (PRNewsFoto/Inmoji Inc.)

The Inmoji SDK enables consumers to easily share rich media content from their favorite brands in text conversations via in-message clickable icons called “Inmoji.” (PRNewsFoto/Inmoji Inc.)

 

ส่วนในภาคธุรกิจบริษัท Inmoji ที่เป็นบริษัททำซอฟท์แวร์ (SDK) สำหรับการแชทที่ในระบบแป้นพิมพ์ของเขามีความพิเศษกว่าที่อื่นๆ เพราะมีการฝังความสามารถในการทำให้อีโมจิมีปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลต่างๆ ได้ เช่น ขณะกำลังใช้แอพฯ แชท A ที่มีการติดตั้งระบบของ Inmoji เข้าไปด้วย เพื่อมีการพิมพ์คำว่า เค… เจอกันที่สตาร์บัคส์ สยาม เมื่ออีกฝ่ายได้รับข้อความ ก็จะเป็นคำว่า เค…… เจอกันที่ (รูปโลโก้สตาร์บัคส์ เมื่อกดแล้วก็จะลิงก์ไปยังแผนที่บอกว่าสตาร์บัคส์ สยามอยู่ตรงไหน อีกฝ่ายจะได้เดินทางไปถูก

และตอนนี้ก็มีแบรนด์มากมายเข้าร่วมลงโฆษณากับ Inmoji แล้ว เช่น ห้างวอลมาร์ท กดที่อีโมจิโลโก้วอล์มาร์ทแล้วก็จะลิงค์ไปยังคูปองส่วนลดให้มาช้อปที่ห้างได้ทันที

อย่างไรก็ดี ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา มีธุรกิจห้างร้านมากมายที่ใช้ “ภาษาอีโมจิ” มาเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคแบบที่หวังว่าภาพน่ารักๆ เหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์และลูกค้าใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงสินค้าและบริการของตนมากยิ่งขึ้นด้วย!

แบรนด์แรกๆ ที่จับเอาอีโมจิมาช่วยเพิ่มรายได้ให้กับแบรนด์จนโด่งดังก็คือ โดมิโน่พิซซ่า โดยลูกค้าเพียงแค่ส่งอีโมจิรูปพิซซ่า ก็สามารถสั่งพิซซ่าได้ทันใจ, โรงแรม Aloft ส่งรายการอีโมจิมาให้ลูกค้า อยากเรียกใช้บริการอะไร ไม่ต้องโทรหาล็อบบี้ แค่พิมพ์อีโมจิตามที่กำหนด ไม่กี่อึดใจก็ได้จะได้ของตามสั่งที่หน้าประตู

aloft

หรือแม้แต่แคมเปญล่าสุดของแบรนด์เครื่องดื่มดังอย่างโค้กและเป๊ปซี่ ก็มีการผลิตอีโมจิในแบบฉบับของตัวเอง เพื่อพิมพ์ลงบนฉลากเครื่องดื่มแบบต่าง อาทิ โค้กเอาฝาจีบมาเล่นกับภาพใบหน้าสีแดงๆ แสดงอารมณ์ต่างๆ ส่วนเป๊ปซี่ก็ใช้ใบหน้าสีเหลืองพิมพ์ลงบนฉลากน้ำเงินให้ความรู้สึกเป็นเป็ปซี่ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสื่อสารว่าทั้ง 2 แบรนด์นี้ทันเทรนด์ เข้าใจ และเข้าถึงวิธีการสื่อสารใหม่ๆ ของลูกค้ารุ่นใหม่นั่นเอง

coke

pepsi1

สำหรับผู้เขียนเชื่อว่า “อีโมจิ” จะมีการพัฒนาการต่ออย่างไม่หยุดยั้ง และคาดว่าหากมันยิ่งฉลาดขึ้น ก็จะยิ่งช่วยทำให้เราสื่อสารกันได้อีกยิ่งขึ้นก็ได้ ใครจะไปรู้ว่าต่อไปอาจจะไม่ต้องพิมพ์แค่ใช้การ “จินตนาการ” ก็สามารถสร้างภาพอีโมจิแบบเรียลไทม์ซึ่งสื่อถึงอารมณ์ของเราได้อย่างเหมาะเหม็งก็เป็นได้!

หลากเรื่องที่คุณไม่เคยรู้เกี่ยวกับอีโมจิ!

เว็บไซต์ worldemojidaycom ถือให้วันที่ 17 กรกฎาคม เป็น “วันอีโมจิโลก” ไม่ได้เป็นวันที่อีโมจิถูกคิดค้นขึ้น แต่เป็นวันที่อีโมจิได้ปรากฏตัวอยู่บนระบบปฏิบัติการ iOS ของแอปเปิ้ล (เห็นไหมว่าแอปเปิ้ลทรงอิทธิพลต่อคนทั้งโลกขนาดไหน?)

ถึงแม้ผู้คิดค้นอีโมจิอย่างสมาคมยูนิโค้ดจะไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่ในโลกออฟไลน์ทุกภาพของอีโมจิที่เราเห็นในมือถือได้ถูกมือดีอย่างนาย Marco Hüsges ได้จัดตั้งบริษัท Emoji Company เพื่อดูแลด้านลิขสิทธิ์ของการเอาภาพอีโมจิไปใช้กับสิ่งของต่างๆ ในโลกจริง สำหรับประเทศในแถบอเมริกา รวมถึงอังกฤษ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ด้วย เช่น นำไปทำลายเสื้อผ้า รองเท้า ของใช้ต่างๆ รวมถึงนำไปใช้บนฉลากบนพัสดุเพิ่มความสวยงาม ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับบริษัทนี้ทั้งสิ้น

 

 

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save