Article

ป้องกันโจรจาก Android ของคุณด้วย Device Protection

Android Device Protection ความสามารถใหม่บน Android 5.1 Lollipop ระบบล็อคตาย Android ของคุณ เมื่อเครื่องถูกขโมย

028

 

สวัสดีครับพบกับผมอินทัช พงษ์เกษม วันนี้ผมมีความสามารถใหม่บน Android 5.1 Lollipop ที่จะมาแนะนำเพื่อนๆ กันครับกับ Android Device Protection ระบบล็อคตาย Android ของคุณ เมื่อเครื่องถูกขโมย

 

029

สมาร์ทโฟนกลายเป็นส่วนหนึ่งของเราไปแล้ว ด้วยความสามารถของมันทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลทั่วโลกได้เพียงแค่ปลายนิ้ว ถึงแม้สมาร์ทโฟนจะมีประโยชน์มาก แต่มันก็ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายตามมา หนึ่งในนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนกลัวที่สุดคือ ของที่รักที่สุดอย่างสมาร์ทโฟน หายไป!

007

031

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เข้ามาตอบโจทย์แก้ปัญหาเรื่องสมาร์ทโฟนหายอยู่มากพอสมควร แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจาก ผู้พัฒนาจากภายนอก ที่สามารถลงเพิ่มเติมเองผ่าน Google Play Store เช่น ถอดซิมออกก็จะมีการส่ง SMS แจ้งเตือน หรือแม้กระทั่งคุมกล้องให้สามารถถ่ายหน้าคนร้ายได้ โดยต้นเรื่องของความปลอดภัยรูปแบบนี้ ผู้ที่มีความปลอดภัยของเครื่องให้สูงที่สุดก็คือ Apple iPhone ที่ปัจจุบันการขโมยเครื่อง iPhone ไป ก็จะไม่สามารถนำไปใช้งานได้อีกหากไม่รู้รหัส iCloud ของเจ้าของเครื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้ชาว iPhone อุ่นใจขึ้นเยอะ แต่กับ Android ล่ะ?

025

026

Android เวอร์ชั่นเกือบล่าสุดอย่าง 5.1 Lollipop ได้พยายามปรับปรุงเรื่องดังกล่าว โดยใส่ความสามารถที่คล้ายๆ กันกับ Apple iPhone ในชื่อว่า Android Device Protection ด้วยความสามารถใหม่นี้ ทำให้เมื่อ Android ตัวโปรดของคุณถูกขโมย นอกจากคุณจะใช้ Android Device Manager ติดตามเครื่องได้แล้ว ยังมีระบบล็อคอีกชั้นที่ทำให้โจรไม่สามารถเข้าใช้งาน Android ตัวโปรดของคุณได้แม้จะล้างข้อมูลไปแล้วก็ตาม

019 008

003

หลักการทำงานของ Android Device Protection ก็ง่ายๆ ครับ หากมีการรีเซ็ทเครื่องหรือล้างข้อมูลเครื่องด้วยวิธีการที่แตกต่างออกไปจากปกติ จะทำให้เครื่องไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไปหากไม่ใส่ Google Account เดิมได้ถูกต้อง (เดิมก่อนรีเซ็ทเครื่อง) หมายถึงกลายเป็นที่ทับกระดาษไปโดยปริยายนั่นเอง

022 023

วิธีการรีเซ็ทเครื่องที่ต่างออกไปจากปกตินั้น กล่าวคือเป็นการรีเซ็ทข้อมูลที่ไม่ได้ผ่านการรีเซ็ทบนเมนูการตั้งค่าแบบที่ทำกันแบบปกติทั่วไป อาจเนื่องจากเงื่อนไขของการรีเซ็ทข้อมูลในการตั้งค่านั้น หากมีการใส่รหัสล็อคเครื่องเอาไว้จำเป็นต้องมีการใส่รหัสก่อนการรีเซ็ทเครื่อง ดังนั้นโจรที่ขโมยเครื่องไปจำต้องนำเครื่องไปรีเซ็ทหรือล้างข้อมูลผ่านร้านค้าหรือผ่าน Recovery Mode นั่นเอง

021 020 032

การเปิดใช้งานฟังก์ชั่น Android Device Protection ไม่ยากครับ เริ่มจากการ Sign-in Google Account ปกติให้เรียบร้อย ซึ่งเป็นปกติของ Android ทุกเครื่องอยู่แล้ว จากนั้นตั้งค่ารหัสล็อคเครื่องอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น PIN, สแกนนิ้ว, รูปแบบ ได้ทั้งหมด แค่นี้ก็ถือเป็นการเปิดใช้งานฟังก์ชั่น Android Device Protection เรียบร้อยแล้ว แต่แน่นอนครับว่าเครื่องที่ใช้งานอยู่ต้องเป็น Android เวอร์ชั่น 5.1 ขึ้นไปนะครับ ย้ำว่าต้อง 5.1 ขึ้นไป (6.0 Marshmallow ก็ได้นะครับ)

013 014

015 016

เท่านี้สมาร์ทโฟน Android ของคุณก็จะปลอดภัยยิ่งขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม Google ก็ไม่ได้ใจร้ายสำหรับคนที่ลืมรหัส Google Account เท่าไรนัก เพราะหากคุณลืมรหัสผ่านก็สามารถกดลืมรหัสผ่านและรอรับโค้ดผ่าน SMS (เบอร์มือถือที่ลงทะเบียนไว้กับ Google ตอนสมัคร Account) ได้

027

001

หากคุณมีสมาร์ทโฟน Android ในมือแล้วผมอยากแนะนำให้ใช้งานเจ้าฟังก์ชั่นนี้ดูครับ อย่างน้อยก็ทำให้เราสามารถปกป้องข้อมูลที่สำคัญของเราได้ และใช้งานร่วมกับ Android Device Manager ที่เอาไว้ค้นหาตัวเครื่องได้เป็นอย่างดี ถือเป็นการอัพเกรดเรื่องความปลอดภัยให้ Android ไปอีกขั้นจาก Google ซึ่งต่อไปนี้คงต้องคอยเตือนตัวเองกันบ่อยๆ นะครับว่าอย่าลืมรหัสผ่านเครื่องเป็นอันขาด ฝากติดตามบทความดีๆ ของผมได้ที่เว็บไซต์ mxphone.net นะครับ

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save