Article

Bluetooth เวอร์ชั่น 4 และ Bluetooth เวอร์ชั่น 5 แตกต่างกันอย่างไร

Bluetooth v4 v5

หลายคนคงจะสงสัยว่าบลูทูธแต่ละเวอร์ชั่นมีคุณสมบัติอย่างไร โดยเฉพาะเวอร์ชั่นใหม่ๆ วันนี้ เราจะมาเปรียบเทียบ Bluetooth เวอร์ชั่น 4 และ Bluetooth เวอร์ชั่น 5 นั้นแตกต่างกันอย่างไร

หากพูดถึงบลูทูธ (Bluetooth) ทุกคนจะนึกถึงการเชื่อมต่อแบบไร้สาย หูฟังบลูทูธ หรือไม่ก็โลโก้บลูทูธสีน้ำเงิน สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมานั้นอยู่คู่กับบลูทูธทุกเวอร์ชั่นมาโดยตลอด รวมไปถึงเวอร์ชั่นล่าสุด แต่หลายคนก็คงจะสงสัยว่าบลูทูธแต่ละเวอร์ชั่น มีคุณสมบัติอย่างไร โดยเฉพาะเวอร์ชั่นใหม่ๆ อย่างเวอร์ชั่น 5 วันนี้ เราจะมาเปรียบเทียบ Bluetooth เวอร์ชั่น 4 และ Bluetooth เวอร์ชั่น 5 นั้นแตกต่างกันอย่างไร

Bluetooth เวอร์ชั่น 4 และ Bluetooth เวอร์ชั่น 5 แตกต่างกันอย่างไร

Bluetooth 5.0 เป็นมาตรฐานการสื่อสารแบบไร้สายเวอร์ชั่นล่าสุด นิยมใช้กับหูฟังไร้สาย หรือลำโพงต่างๆ  เช่นเดียวกับคีย์บอร์ดไร้สาย เมาส์ และจอยเกม ไม่เพียงแค่นั้น ในอนาคตจะใช้บลูทูธสำหรับการสั่งงานไปยังบ้านอัจฉริยะแบบต่างๆ (Smart Home) และอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) อีกด้วย

ความเร็ว

บลูทูธ 5 ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงถึง 2 Mbps เร็วกว่าบลูทูธ 4 ถึงสองเท่า (1 Mbps) ประกอบกับบลูทูธ 5 ใช้แบนด์วิธที่มากถึง 5 Mbps (บลูทูธ 4 ใช้ 2.1 Mbps) ด้วยเหตุผลนี้ จึงทำให้บลูทูธ 5 เหมาะสมกับการใช้งานอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) มากกว่านั่นเอง

รัศมีการใช้งาน

บลูทูธ 4 รองรับการใช้งานนอกสถานที่ในระยะ 50 เมตร และรองรับการใช้งานในอาคารระยะ 10 เมตรซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำ ส่วนบลูทูธ 5 มีระยะการทำงานภายนอกอาคารที่ 200 เมตรเมื่อไม่มีวัตถุใดๆ กีดขวาง (Line of Sight) และ 40 เมตรในอาคาร ถ้าคุณต้องการฟังเพลงด้วยหูฟังบลูทูธ พร้อมๆ กับเดินวนรอบบ้านไปด้วย การใช้หูฟังที่รองรับบลูทูธ 5 จะเป็นการดีที่สุด

การใช้พลังงาน

บลูทูธ 5 ที่อยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ ถูกออกแบบมาให้ใช้พลังงานน้อยลงเมื่อเทียบกับบลูทูธ 4 นั่นหมายความว่า ผู้ใช้สามารถเปิดบลูทูธทิ้งไว้ได้นานกว่าเดิม โดยไม่ต้องคอยเปิดปิดบลูทูธบ่อยๆ ให้เสียเวลา (ถ้าแบตไม่หมดซะก่อน)

ความจุของข้อมูลต่อการส่งหนึ่งครั้ง

บลูทูธ 4 ส่งข้อมูลได้แค่ 31 ไบท์ โดยที่ 17-20 ไบต์แรกเป็นข้อมูลที่จะส่งจริงๆ (ที่เหลือเป็น Header สำหรับควบคุมคำสั่ง) ในขณะที่บลูทูธ 5 ส่งข้อมูลได้เยอะกว่าถึง 255 ไบท์ ทำให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อมูลจริง (Payload) ได้เยอะกว่าเดิมโดยไม่ต้องกลัวว่า Header จะกินเนื้อที่อีกต่อไป

Bluetooth Beacon

บีคอนที่ใช้การเชื่อมต่อแบบบลูทูธ จะนิยมใช้บลูทูธ 5 มากกว่า เนื่องจากทำความเร็วได้สูงขึ้น ระยะการเชื่อมต่อที่กว้างขึ้น และส่งข้อมูลได้มากขึ้นต่อการส่งหนึ่งครั้ง เมื่อเทียบกับบลูทูธ 4  (บีคอนคืออุปกรณ์เล็กๆ ซึ่งติดตั้งตามสถานที่และปล่อยสัญญาณไร้สายออกมา หากผู้ใช้เชื่อมต่อสมาร์ทโฟนเข้ากับบีคอน จะมีการแสดงเนื้อหาออกมาให้ผู้ใช้ได้เห็น)

รองรับอุปกรณ์ IoT

บลูทูธ 5 รองรับการใช้งานกับอุปกรณ์ IoT ได้เป็นอย่างดี เพราะมีรัญมาการทำงานที่กว้าง และทำความเร็วได้สูง เมื่อเทียบกับบลูทูธ 4 ที่ทำความเร็วได้ช้า และระยะการทำงานที่สั้น นั่นหมายความว่าอุปกรณ์ IoT สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่รองรับบลูทูธ 5 เช่น Samsung Galaxy S8 และ S8+ (เป็นสมาร์ทโฟนรุ่นแรกๆ ที่รองรับบลูทูธ 5)

Bluetooth

ใช้งานร่วมกับบลูทูธเวอร์ชั่นเก่าๆ ได้

บลูทูธ 4 จะทำงานได้ดีเมื่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่รองรับเวอร์ชั่น 4 ด้วยกัน แต่จำไม่ทำงานเมื่อใช้ร่วมกับบลูทูธ 5 ในขณะที่บลูทูธ 5 ทำงานร่วมกันได้กับเวอร์ชั่นเก่าๆ (Backward Compatibility) อย่าง v1, v2, v3, v4, v4.1 และเวอร์ชั่น 4.2 แต่จะไม่รองรับฟังก์ชั่นใหม่ๆ ทีมีมาในเวอร์ชั่น 5 เท่านั้นเอง (แบบเดียวกับมาตรฐานของ USB) ดังนั้น  ควรใช้สมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ที่รองรับบลูทูธ 5 เหมือนกัน จึงจะได้การใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและคุ้มค่าคุ้มราคาที่สุดนั่นเองครับ

สำหรับใครที่อยากติดตามบทความดี ๆ หรือข่าวสารใหม่ ๆ ก็สามารถกดไลค์เพจ WhatPhone.net หรือเข้ามาพูดคุยกันได้ที่ WhatPhone – Commu ได้เลยครับ

 

ที่มา : 1 , 2

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save