Applications

มาสร้างหนังสือพูดให้ผู้พิการทางสายตาด้วย Read for the Blind

สำหรับผู้พิการทางสายตานั้น ถ้าต้องการอ่านหนังสือก็จะใช้หนังสือที่มีตัวอักษรเบลล์ แต่ในตอนนี้ได้มีแอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจมากชื่อว่า “Read for the Blind” ที่จะช่วยรวบรวมข้อมูลหนังสือพูดได้หรือการอ่านเล่าเรื่องสำหรับผู้พิการทางสายตา

สำหรับผู้พิการทางสายตานั้น ถ้าต้องการอ่านหนังสือก็จะใช้หนังสือที่มีตัวอักษรเบลล์ เป็นตัวอักขระนูนแบบนึงที่จะบันทึกลงในหน้ากระดาษแล้วมารวมเล่มเป็นหนังสือต่อไป อีกวิธีนึงก็ใช้การบันทึกเสียง คือ อ่านเนื้อหาจากหนังสือแล้วทำการบันทึกเสียงไว้ แต่ก่อนหน้ายังไม่ได้มีการรวบรวมข้อมูลการอ่านนั้นออกมาอย่างเป็นทางการทำให้ไม่มีเนื้อหาที่ได้บันทึกเสียงไว้นั้นจำกัดอยู่ในวงแคบไม่ได้ถูกเผยแพร่ออกไป แต่ในตอนนี้ได้มีแอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจมากชื่อว่า “Read for the Blind” ที่จะช่วยรวบรวมข้อมูลหนังสือพูดได้หรือการอ่านเล่าเรื่องสำหรับผู้พิการทางสายตาไว้

สำหรับชาวแอนดรอยด์แล้วเข้าไปดาวน์โหลดกันได้ที่ Play Store ได้เลย

01

รายละเอียดของแอพพลิเคชั่นนี้ เน้นๆ เลย “In Thailand”

01-1

Read for the Blind นี้ เกิดจากความร่วมมือของหลายๆ หน่วยงานด้วยกัน ได้แก่ Samsung, AIS, ธนาคารไทยพาณิชย์ และ Google น่ายินดีมากครับ

01-2
ดาวน์โหลดมาติดตั้งแล้ว อย่าช้าครับ เรียกใช้งานกันเลย พบกับ Tutorial แนะนำการใช้งาน

02
เลือกประเภทของหนังสือได้หลากหลาย ทำให้ง่ายต่อการค้นหา

03
มีช่องให้ใส่รายละเอียดของหนังสือแบบครบๆ

04
มีคำแนะนำในการบันทึกเสียง สามารถย้อนหลังไปบันทึกซ้ำได้เลย

05
ข้อตกลงและเงื่อนไขของ Read for the Blind กด Ok ได้เลยครับ

06
มีคำแนะนำเพิ่มเติมในการใช้เล็กน้อย

07
จากนั้นเข้าสู่หน้าจอพร้อมใช้งาน

08
แตะที่ปุ่มรูปเฟืองเพื่อเข้าสู่การกำหนดค่าการใช้งาน

10
เลือกแบบการแสดงผลได้สองแบบ จะแสดงด้วยปกหรือชื่อหนังสือก็ได้แล้วแต่ชอบครับ ส่วนตัวชอบแบบการแสดงผลด้วยปกหนังสือแบบที่เป็นค่ามาตรฐานมากกว่าครับ สื่อด้วยภาพ เห็นชัดดี

11
แสดงผลแบบชื่อหนังสือ

12
เลือกภาษาในการใช้งาน สำหรับชาวต่างชาติก็สามารถใช้งานได้ด้วย

13
จากนั้นมาลองใช้งานกันครับ เลือกเล่มนึง ขอเลือกเล่มนี้ครับชื่อเรื่องน่าสนใจ มีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการบันทึกเสียงให้อีกด้วย

15
พร้อมอ่านให้ฟังหรืออ่านเพิ่มเติมเข้าไปในฐานข้อมูลของหนังสือเล่มที่เราเลือก

16
แตะเลือกที่ปุ่ม รายละเอียด จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมของหนังสือเล่มนั้นเพิ่มเข้ามา

17
จากนั้นเลือกบทที่เราต้องการเปิดให้ผู้พิการทางสายตาฟังหรือเราจะฟังเองก็ได้ครับ

18 19

ถ้าชอบกด Like กันเลยครับ

20

ฟังไปหยุดไปได้เลยครับ ไม่ต้องมาเริ่มต้นฟังกันใหม่

21

ถ้าต้องการเพิ่มรายชื่อหนังสือหรือบันทึกเสียงเพิ่มเติม ต้องล็อกอินเข้าไปก่อน จะได้ระบุตัวตนได้ว่าใครเพิ่มเข้าไป

22

เลือกได้ว่าต้องการเชื่อมโยงกับเฟซบุ๊คหรือไม่

23 24

รอโหลดข้อมูลสักครู่ ขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเตอร์เน็ต ใช้งานบางช่วงอาจจะช้าหน่อย

25
แนะนำว่าให้ค้นหาหนังสือก่อนนะครับ จะได้ไม่สร้างมาซ้ำกับเล่มที่มีอยู่แล้ว

26
จากนั้นแตะเลือกที่เครื่องหมายบวกในวงกลมสีแดงเพื่อสร้างหนังสือเสียงเล่มใหม่ จะเข้าสู่การเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวหนังสือ

27
เลือกหมวดหมู่ให้เหมาะสม หมวดหมู่ต่างๆ มีครบเลย

28
จากนั้นเพิ่มปกหนังสือ

29
แนะนำเล่มนี้ครับ อ่านสนุกและได้สาระมากมายเกี่ยวกับเชียงใหม่

30
เมื่อใส่รายละเอียดต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จากนั้นกด Done และทำการบันทึกเสียงบทต่างๆ ต่อไป

31
คำแนะนำในการอ่านคือ อ่านช้าๆ ชัดๆ ไม่ต้องรีบครับ ปล่อยใจสบายๆ เหมือนเราอ่านหนังสือให้ฟังทั่วไป ไม่ต้องเกร็ง อาจจะมีเน้นรายละเอียดบ้างในบางจุด เวอร์ชั่นปัจจุบันนี้เป็นเวอร์ชั่น 1.16 สามารถให้คำแนะนำได้ที่หน้าแอพพลิเคชั่นนี้ที่ Play Store ทางผู้พัฒนาจะได้นำไปปรับปรุงต่อไป

14
ทดลองใช้กันนะครับ ในยามว่าง ใครมีหนังสือเล่มใดที่น่าสนใจก็ทำการบันทึกเสียงหรือมีหนังสือที่น่าสนใจก็เพิ่มเข้าไปในฐานข้อมูล จะได้มีหนังสือเสียงเพิ่มมากขึ้น ร่วมด้วยช่วยกันบันทึกเสียงเพื่อผู้พิการทางสายตา ได้บุญด้วยบอกต่อเพื่อนๆ ด้วยนะครับ

Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save