News & Update

ชวนคนไทยอ่านหนังสือให้คนตาบอด มอบแสงสว่างให้พวกเขากับโครงการ “Read for the Blind” ในวันไม้เท้าขาวโลก

ชีวิตจะเป็นอย่างไร ถ้าต้องอยู่ในโลกแห่งความมืด
ลองหลับตาดูแล้วคุณจะพบภาพ ภาพเดียวที่คนตาบอดเห็นชั่วชีวิต”
ร่วมมอบแสงสว่างให้พวกเขากับโครงการ “Read for the Blind”


ชีวิตจะเป็นอย่างไร ถ้าต้องอยู่ในโลกแห่งความมืด

ลองหลับตาดูแล้วคุณจะพบภาพ ภาพเดียวที่คนตาบอดเห็นชั่วชีวิ

ร่วมมอบแสงสว่างให้พวกเขากับโครงการ “Read for the Blind”

บรรยากาศระหว่างการเล่านิทานสดๆ ให้เด็กตาบอดฟังบนเวที

คนตาบอดกว่า 7 แสนคนในประเทศไทย ขาดโอกาสในการมองเห็นโลกกว้างและรับรู้เรื่องราวต่างๆ   ด้วยตาของตัวเอง สิ่งเดียวที่คนตาบอดจะได้เห็นชั่วชีวิตก็คือภาพสีดำและความมืดเท่านั้น แม้ว่าการมองไม่เห็นจะทำให้คุณภาพชีวิตลดลงสำหรับคนตาบอดที่อาศัยอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้วเพราะโชคดีที่ได้รับการศึกษาและฝึกอบรม    อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกับคนทั่วไป แต่สำหรับประเทศไทย สิ่งที่คนตาบอดยังต้องประสบอยู่ก็คือการขาดโอกาสหรือความด้อยโอกาสอันเป็นปราการขัดขวางการพัฒนาคุณภาพชีวิตและโอกาสในอนาคต

แม้ว่าคนตาบอดจะสามารถรับรู้ข้อมูลต่างๆ ด้วยการสัมผัสผ่านหนังสือเบรลล์ ซึ่งมีโปรแกรมอัตโนมัติ และเครื่องพิมพ์ที่จะเปลี่ยนตัวอักษรปกติไปเป็นอักษรเบรลล์ได้อย่างรวดเร็ว จึงไม่มีอุปสรรคขัดขวางในขั้นตอนการผลิต แต่ไม่ใช่คนตาบอดทุกคนที่จะสามารถอ่านและเข้าใจอักษรเบรลล์ได้ ดังนั้นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหลืออยู่ของผู้ที่ไม่สามารถอ่านอักษรเบรลล์ได้ คือการฟังผ่านหนังสือเสียง อันเป็นคลังความรู้ของคนตาบอด แต่สำหรับการผลิตหนังสือเสียงนั้นต้องใช้ “คน” และ“เวลา” ในการอ่านหนังสือแต่ละเล่มจนกว่าจะจบและเป็นหนังสือเสียงที่เสร็จสมบูรณ์ ด้วยสภาพสังคมในปัจจุบันที่ผู้คนต่างเร่งรีบ รวมไปถึงความไม่สะดวกในการเดินทางเพื่อไปอ่านหนังสือเสียง จึงทำให้ไม่มีทั้ง “คน” และ “เวลา” มากเพียงพอกับการสร้างหนังสือเสียงให้เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นจึงทำให้หนังสือเสียงสำหรับคนตาบอดในประเทศไทยเผชิญกับภาวะขาดแคลนอยู่ในขณะนี้

ปัจจุบันห้องสมุดคนตาบอดและผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์แห่งชาติ มีหนังสือเพียง 5,000 เล่ม ซึ่งยังไม่เพียงพอ กับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของคนตาบอด ดังนั้นห้องสมุดฯ จึงยังต้องการอาสาสมัครมาร่วมผลิตหนังสือเสียง ด้วยเหตุนี้แนวคิดของการ “สร้างหนังสือเสียงด้วยตนเอง ทุกที่ทุกเวลา” จึงเกิดขึ้นภายใต้โครงการเพื่อสังคมล่าสุดของซัมซุงและองค์กรพันธมิตร “Read for the Blind” ครั้งแรกกับการเชิญชวนประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการผลิตหนังสือเสียงผ่านแอพพลิเคชัน Read for the Blind บนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ที่สามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ผ่านทาง Google Play Store และ App Store เพิ่มความสะดวกให้กับจิตอาสาสร้างหนังสือเสียงด้วยตัวเองได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงแค่มีสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต และแอพพลิเคชัน Read for the Blind เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนตาบอดในประเทศไทยซึ่งในขณะนี้กำลังประสบกับภาวะหนังสือเสียงขาดแคลน  แนวคิดในการพัฒนาแอพพลิเคชัน มาจากไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ ที่ไม่ค่อยมีเวลาและต้องใช้ชีวิตแบบไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่  แต่อยากจะช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม ซึ่งการสร้างหนังสือเสียงให้คนตาบอดผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนนับเป็นการทำความดี ที่ง่าย และเปลี่ยนรูปแบบการช่วยเหลือสังคมอย่างแท้จริง โดยโครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากองค์กรชั้นนำร่วมสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็น ซัมซุง ธ.ไทยพาณิชย์ เอไอเอส และกูเกิล

นายวิรัช ศรีตุลานนท์ ประธานมูลนิธิคนตาบอดไทย กล่าวว่า “กระบวนการและขั้นตอนในการผลิตหนังสือเสียงมีความยุ่งยาก ดังนั้นอาสาสมัครที่ต้องการอ่านหนังสือจึงต้องมีเวลา และสามารถอ่านได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมถึงข้อจำกัดในด้านการเดินทางและปัญหาที่จอดรถ ด้วยปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวทำให้จำนวนหนังสือเสียงไม่เพียงพอต่อความต้องการของคนตาบอดที่ต้องการจะเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ทั้งในด้านการศึกษา ความบันเทิง ความรู้ และอื่นๆ ที่ทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ ซึ่งข้อจำกัดในการสร้างหนังสือเสียงรูปแบบเดิมทำให้หนังสือเสียงไม่เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นโครงการ Read for the Blind น่าจะเป็นทางเลือกในการช่วยเพิ่มจำนวนหนังสือเสียงให้เพียงพอ อีกทั้งยังเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ให้คนในสังคมเห็นความสำคัญของการอ่านหนังสือให้คนตาบอดในเมืองไทยที่ยังขาดโอกาส ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวการสำคัญในการขัดขวางการพัฒนาคุณภาพชีวิตและโอกาสที่จะพัฒนาตนเองในอนาคต ดังนั้นหากมีหนังสือเสียงเพิ่มขึ้นจะเป็นโอกาสอันดีที่คนตาบอดจะได้พัฒนาความรู้ ศักยภาพในการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ  และพึ่งพาตนเองได้ สุดท้ายนี้ในฐานะตัวแทนคนตาบอด ขอขอบพระคุณ 4 องค์กรพันธมิตรที่ร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคมนี้ขึ้นและอยากจะขอเชิญชวนจิตอาสาให้ช่วยกระจายข่าวเกี่ยวกับโครงการนี้ รวมถึงดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน Read for the Blind บนสมาร์ทโฟน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มจำนวนหนังสือเสียงให้เพียงพอ”

นายวิชัย พรพระตั้ง รองประธานธุรกิจโทรคมนาคม บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวว่า “ซัมซุงในฐานะผู้พัฒนาแอพพลิเคชัน Read for the Blind ถือเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่แห่งการสร้างคลังความรู้ให้คนตาบอด ทำให้การสร้างหนังสือเสียงเป็นเรื่องง่ายและสะดวกกว่าที่เคยมีมา นับว่าเป็นการนำประโยชน์จากเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนมาสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม และเป็นการเพิ่มช่องทางให้คนไทยร่วมทำความดี ทุกที่ ทุกเวลา และเปลี่ยนรูปแบบการช่วยเหลือสังคมอย่างแท้จริง จึงอยากขอเชิญชวนให้ประชาชนทั่วประเทศดาวน์โหลด แอพพลิเคชัน Read for the Blind ผ่านGoogle Play Store และ App Store นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถเลือกอ่านหนังสือที่ตัวเองชอบและสร้างเป็นหนังสือเสียงให้กับคนตาบอดได้ด้วย สำหรับแอพพลิเคชัน Read for the Blind ซัมซุงได้มอบลิขสิทธิ์นี้ให้แก่มูลนิธิคนตาบอดไทยเพื่อต่อยอดและใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ซัมซุงมั่นใจว่าจะสามารถสร้างหนังสือเสียง 3,000 เล่ม บทความ 30,000 บทความ จากผู้ดาวน์โหลดแอพ 2 แสนคน ใน 1 ปี”

นายธาตรี ลิขนะพิชิตกุล ผู้จัดการกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า“ธนาคารรู้สึกยินดีที่ได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรม Read for the Blind ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เชิญชวนให้ทุกๆ คนร่วมกันทำหนังสือเสียงด้วยวิธีง่ายๆ โดยการอ่านหนังสือผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน เพื่อมอบให้กับผู้พิการทางสายตา สำหรับในครั้งนี้ ธนาคารได้เชิญชวนผู้บริหาร พนักงานจิตอาสาของธนาคารในโครงการ “SCB ชวนกันทำดี” และ สมาชิกเยาวชนคนรุ่นใหม่ในโครงการ “แบ่งปัน 1 วันใน 1 ปี” เข้าร่วมกิจกรรม ธนาคารเชื่อมั่นว่า โครงการ Read for the Blind จะได้รับการตอบรับที่ดี ด้วยความร่วมมือจากทุกๆ ภาคส่วน และธนาคารพร้อมให้การสนับสนุนส่งเสริมให้โครงการประสบความสำเร็จเพิ่มมากขึ้น”

นางวิไล เคียงประดู่ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานประชาสัมพันธ์ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “ในฐานะที่เอไอเอสเป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ จึงเล็งเห็นว่าการประยุกต์โดยนำเอาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมจะช่วยให้คนในสังคมไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งการที่เอไอเอสร่วมสนับสนุนโครงการ Read for the Blind ก็นับเป็นอีกหนึ่งโครงการฯ ที่ได้พัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีด้านการสื่อสารมาเอื้อประโยชน์แก่ผู้พิการทางสายตาผ่านการพัฒนาแอพพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ โดยทุกคนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันเป็นดวงตาให้แก่พวกเขาได้ เพียงดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน Read for the Blind และอ่านหนังสือให้พวกเขาฟัง ซึ่งเอไอเอสได้ ยกเว้นค่าบริการอินเทอร์เน็ตผ่านแอพพลิเคชัน Read for the Blind ตลอดการใช้งานให้กับผู้ใช้บริการในเครือข่ายเอไอเอส 3G 2100 คิดเป็นมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท”

นายอริยะ พนมยงค์ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ บริษัท กูเกิล ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “โครงการและ แอพพลิเคชัน Read for the Blind เกิดขึ้นจากความคิดที่ว่าเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นในปัจจุบัน น่าจะมีส่วนช่วยให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนตาบอดให้มีสิทธิเท่าเทียมกับคนทั่วไปที่จะเข้าถึงข้อมูลด้านต่างๆ เป็นไปได้มากขึ้น ในวันนี้กูเกิลรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริงบนสมาร์ทโฟนที่ในวันนี้แทบจะทุกคนในสังคมมีอยู่ในมือ กูเกิลมั่นใจว่าด้วยความใจดีของคนไทยจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ เพราะทุกคนย่อมเต็มใจที่จะช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม ไม่ว่าจะเป็นการช่วยแชร์ การบอกต่อ รวมถึงการทำด้วยตนเอง เพียงดาวน์โหลดแอพพลิเคชันเพื่อร่วมกันสร้างหนังสือเสียงให้กับคนตาบอด ให้หนังสือเสียงส่งไปถึงคนตาบอดที่กำลังรอคอยความช่วยเหลือได้เร็วขึ้น นอกจากนี้กูเกิลยังเชื่อว่าโครงการและแอพพลิเคชัน Read for the Blind จะสามารถช่วยเหลือคนตาบอดทั่วโลกได้อีกด้วย”

นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ กล่าวในฐานะผู้ที่มีส่วนริเริ่มความคิดเกี่ยวกับแอพพลิเคชันที่ช่วยให้การทำหนังสือเสียงง่ายขึ้นว่า “ผมเป็นอีกหนึ่งคนที่อยากจะทำหนังสือเสียงให้กับคนตาบอด แต่สิ่งที่ผมได้เจอมาคือต้องรอคิวอัดเสียงถึง 4ชั่วโมงและยุ่งยากมาก พอไปที่ห้องสมุดของมูลนิธิคนตาบอดไทย ก็พบว่าอยู่ในตึกแถวขนาด 2 คูหาในซอยเล็กๆ พื้นที่จอดรถลำบาก และยังต้องใช้เวลาเรียนรู้การอัดเสียง ซึ่งผมมีความตั้งใจเต็มเปี่ยมที่อยากจะช่วยเหลือคนตาบอด จึงเกิดไอเดียว่าด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันที่เราทุกคนสามารถที่จะบันทึกเสียงบนสมาร์ทโฟนได้ และยังสามารถอัพโหลดขึ้นระบบคลาวน์ได้ รวมทั้งการมีระบบการจัดการที่ดี เพราะใน 1 เล่มยังสามารถช่วยกันอ่านได้หลายคน จึงได้ไปพูดคุยกับทางซัมซุง ซึ่งซัมซุงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนาแอพพลิเคชันให้เกิดขึ้นจริง ขอชื่นชมซัมซุงด้วยใจจริง ในความใส่ใจที่จะช่วยเหลือและทำกิจกรรมประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งการพัฒนาแอพพลิเคชัน Read for the Blind ขึ้นมาจนสำเร็จนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย ซึ่งต้องขอบคุณพันธมิตรทุกท่านที่ทำให้ โครงการดีๆ แบบนี้เกิดขึ้น สุดท้ายนี้ผมอยากบอกว่าผมรู้สึกตื้นตันใจและชื่นชมทุกคนที่เข้ามาร่วมกันสร้างจนโครงการนี้สำเร็จด้วยดี”

ผู้สนใจสร้างหนังสือเสียงให้คนตาบอดผ่านแอพพลิเคชัน Read for the Blind บนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ทั้งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอส สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ได้ที่ Google Play Store และ App Store ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป แชร์หนังสือที่อ่านให้คนตาบอดฟังทาง Facebook แล้วร่วมเป็นแฟนใน https://www.facebook.com/readfortheblind

 

เปิดแอพพลิเคชัน Read for the Blind ชวนคนไทยอ่านหนังสือให้คนตาบอด

เปิ้ล จริยดี สเปนเซอร์ และ แพร-รติวัลคุ์ ศรีมงคลกุล ร่วมงานเปิดตัวแอพ Read for the Blind

เหล่าพันธมิตรร่วมเปิดตัวแอพ Read for the Blind คับคั่ง

เหล่าองค์กรพันธมิตรพูดคุยบนเวที

ณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์  เจ้าของไอเดียแอพอ่านหนังสือให้คนตาบอด

ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และ ชลรัศมี งาทวีสุข

ดวง - มนตร์ลดา พงษ์พานิช ร่วมอ่านหนังสือเพื่อคนตาบอด ผ่านแอพ Read for the Blind

ท็อป พิพัฒน์ และ นุ่น ศิริพันธ์ คู่รักใจบุญ

น้องผู้พิการทางสายตาขอบคุณพี่ๆ ที่มาอ่านหนังสือให้ฟัง นายวิรัช ศรีตุลานนท์ ประธานมูลนิธิคนตาบอดไทย กล่าวขอบคุณโครงการ

นายอริยะ พนมยงค์ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ บริษัท กูเกิล ประเทศไทย จำกัด

วิชัย พรพระตั้ง เล่าที่มาแอพ Read for the Blind

วิชัย พรพระตั้งนำทีมเปิดตัวแอพพลิเคชัน Read for the Blind

 

Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save