Article

EGA สำนักรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์กับภารกิจ Google ภาครัฐ

พูดถึง EGA หรือ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) หลายๆคนอาจจะไม่ทราบว่าหน่วยงานนี้ทำหน้าที่อะไรบ้าง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา EGA ได้จัดงานพูดคุยกันกับสื่อ, บล็อกเกอร์ และ startup

พูดถึง EGA หรือ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) หลายๆคนอาจจะไม่ทราบว่าหน่วยงานนี้ทำหน้าที่อะไรบ้าง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา EGA ได้จัดงานพูดคุยกันกับสื่อ, บล็อกเกอร์ และ startup ซึ่งทีมงาน Whatphone ได้รับเชิญไปร่วมงานดังกล่าวด้วย ทางเราจึงได้สรุปความน่าสนใจของภารกิจของหน่วยงาน EGA หรือสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) มาให้อ่านกันครับ

Open API

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ EGA ได้กล่าวในงานว่า ภาครัฐนั้นมีฐานข้อมูลต่างๆมากมาย เชื่อถือได้ และสามารถนำไปต่อยอดได้หมด ซึ่งที่ผ่านมาการจะไปขอข้อมูลต่างๆของภาครัฐ (ในระดับที่เปิดเผยได้) นั้นทำได้ยาก ใช้เอกสารต่างๆมากมาย ซึ่งปีนี้ EGA ก็เลยหันมามุ่งเน้นทำการเปิด API ภาครัฐ (Open API) ให้มากขึ้น เช่น EGA ยกตัวอย่างว่า ให้กระทรวงมหาดไทยเปิด API ข้อมูลบุคคล ให้สามารถทำการยืนยันตัวบุคคลได้โดยง่าย ซึ่งถ้าเกิดว่ามี startup ที่จำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลพวกนี้ยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานแอพ ก็สามารถยืนยันตัวตนได้โดยง่ายผ่าน API ดังกล่าว ซึ่ง EGA นั้นจะเข้าไปช่วยหน่วยงานต่างๆของภาครัฐทำในส่วนนี้ให้เป็นรูปร่างมากขึ้น

ภาษีไปไหน?

หนึ่งในผลงานจากหน่วยงาน EGA ที่ภูมิใจนำเสนอมาก เพราะเป็นระบบค้นหาเงินภาษีว่าถูกใช้ไปในการทำอะไรบ้าง และใช้การค้นหาในลักษณะแบบคีย์เวิร์ด เช่นเดียวกับค้นหาใน Google โดยสามารถค้นหาได้ทันทีว่าภาครัฐใช้ภาษีจากเรื่องอะไร ในงบประมาณเท่าไหร่ เช่น เมื่อค้นคำว่า อุทยานราชภักดิ์ ก็จะได้ข้อมูลมาว่าใช้ภาษีในเรื่องนี้ไปทำอะไรบ้าง

ภาษีไปไหน

https://govspending.data.go.th/

Big Data

EGA ได้มีการไปดูงานที่ประเทศออสเตรเลีย และได้ไอเดียดีๆมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบจราจรที่รถขนส่งสาธารณะนั้นมีการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่แม่นยำ ทำให้ต่อยอดไปในเรื่องของการเช็คได้ทันทีว่าขนส่งสาธารณะ (เช่นรถเมล์) อยู่ตรงไหน เปลี่ยนเลนบนถนน มาถึงสถานที่จอดเวลาเท่าไหร่ เป็นต้น ซึ่งผอ. EGA ก็บอกว่าในอนาคตอันใกล้ ก็อาจจะมีตำแหน่ง Chief Data Officer ในภาครัฐก็เป็นไปได้ ซึ่งจะมีการสร้างให้คนไทยนั้นเก่งกาจและรู้จักการวิเคราะห์ข้อมูล

รัฐบาลต้องคิดแบบ Startup

ผอ. EGA ยังย้ำว่า อยากเห็นรัฐบาลนั้นทำงานแบบ Startup ซึ่งไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจะต้อง spin off ออกมาเป็น Startup แต่เป็นการนำกระบวนการทำงานของ Startup ที่รวดเร็ว ตรงจุด มาแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งภาครัฐจะต้องตอบโจทย์การบริการประชาชนได้สูงสุด รวดเร็ว ไม่ใช่ว่าไปติดต่ออะไรก็ต้องรอคิวนาน หรือขอเอกสารเดิมๆตลอดเวลา

และ ผอ. EGA ยังได้บอกอีกว่าตนนั้นอยากเห็น IoT Hackathon เกิดขึ้นในประเทศไทย และมาจากภาครัฐเป็นคนจัดตั้งด้วย

SaaS ของภาครัฐ และ Government Cloud

80% ของแอพที่มาจากภาครัฐ ทำมาแล้วคนไม่ค่อยใช้กัน เปลืองพื้นที่ และทรัพยาการ นอกจากนี้ยังไปใช้เซิฟเวอร์ที่อื่นๆเต็มไปหมด ซึ่งถ้าหากรัฐบาลหันมาทำระบบคลาวด์ของภาครัฐ (Government Cloud) นำบริการต่างๆของรัฐบาลมารวมอยู่ในที่เดียวกัน เพื่อให้มีความปลอดภัยและเป็นระบบ นอกจากนี้จะพยายามผลักดันบริการของภาครัฐให้กลายเป็น SaaS (Software as a service) หรือบริการซอฟต์แวร์ผ่านเว็บแอพนั่นเอง ซึ่งถ้าผลักดันสำเร็จ เราก็จะเห็นบริการอย่างเช่น Hotmail, Gmail จากภาครัฐ เป็น Government Email เป็นต้น ซึ่งในภาครัฐนั้นยังไม่มีบริการแบบนี้ EGA พยายามผลักดันมาหลายปีแล้วก็ยังไม่เกิดขึ้น

Blockchain

สุดท้าย EGA ได้พูดถึงเรื่อง Blockchain ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่กำลังจะเปลี่ยนโลกการเงินในอนาคตอันใกล้ ซึ่งตอนนี้ EGA ได้เล็งเห็นความสำคัญของ Blockchain และกำลังคุยกับ Microsoft และ IBM อยู่ และน่าจะมีการผลักดันนำมาใช้ในภาครัฐในอนาคต

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save