Article

น่ารู้ .. ทำไมต้องมีเทคโนโลยีกล้องเลนส์คู่ (Dual-Camera) ในปัจจุบัน?

เทรนด์มือถือในปัจจุบันส่วนใหญ่จพมาพร้อมเทคโนโลยีกล้องคู่ ไม่ว่าจะเป็นคู่หน้า คู่หลัง แต่ว่าทำไมต้องมีเทคโนโลยีนี้ล่ะ เรามีคำตอบพร้อมแยกประเถทกล้องคู่ให้ด้วย

กลายเป็นสิ่งที่มือถือรุ่นใหม่ๆ (เกือบ) ทุกรุ่นต้องมี สำหรับฟีเจอร์กล้องเลนส์คู่ (Dual-Camera) จะเป็นกล้องคู่หน้าใช้ Selfie หรือกล้องหลัก ถ่าย Bokeh หรือซูม 2x ก็ดี บางรุ่นมาครบเลนส์คู่หน้า + หลังเลยทีเดียว แล้วทำไมต้องทำเลนส์คู่ด้วย เมื่อกล้อง DSLR, Mirrorless ก็มีเลนส์เดียวนี่นา

ทำไมน่ะหรอ? เพราะข้อจำกัดทาง Hardware ไงล่ะ

เชื่อไหมว่าขนาดโมดูลกล้องบนมือถือ ตัวนึงขนาดเท่านิ้วก้อย บางแค่ 5-6 มิลลิเมตร ประกอบด้วยเซ็นเซอร์รับภาพ ฟิลเตอร์ ชิ้นส่วนเลนส์ต่างๆ ยิ่งความสามารถเยอะยิ่งซับซ้อนครับ จะทำหนากว่านี้ก็ยาก เพราะทำให้เกิด Camera Bump (กล้องนูน) จากบอดี้มากเกินไป ดังนั้นการมีเลนส์ที่ 2 เหมือนมีลูกมือช่วยทำงาน เพิ่มขีดความสามารถจากกล้องเลนส์หลักนั่นเอง

ปัจจุบันเทคโนโลยีกล้องเลนส์คู่ (Dual-Camera) มี 5 รูปแบบบนมือถือปัจจุบัน มาชมกันครับว่ามีหลักการทำงานแต่ละรูปแบบเป็นอย่างไรบ้าง : )

 

3D Camera

เป็นยุคแรกของกล้องเลนส์คู่ครับ (2011) ช่วงนั้นกระแส 3D Content กำลังมาแรงมาก ทั้งภาพยนตร์ ทีวี ล้วนรองรับระบบ 3 มิติ เพื่อความสมจริงมากขึ้น ทั้งนี้ การสร้าง 3D Content สำหรับผู้ใช้ทั่วไปถือว่ายุ่งยากมาก  จึงมีการพัฒนากล้องมือถ่ายภาพ – วิดีโอรูปแบบ 3D Stereoscopic ให้ User สามารถสร้าง Content ด้วยตัวเอง แถมดูผ่านหน้าจอได้เลย (ไม่ต้องใช้แว่น)

ภายหลัง 3D Content เริ่มเสื่อมความนิยมครับ ส่วนหนึ่งมาจาก Content ค่อนข้างจำกัด แถมผู้บริโภคที่ชอบจริงๆ มีส่วนน้อยมาก ลองสังเกตครับว่า Smart TV ปัจจุบันตัดระบบ 3D ออกแล้ว เช่นเดียวกับภาพยนตร์ เลิกฉายระบบ 3D แล้วเช่นกัน

ปัจจุบันมือถือรองรับการแสดงผล 3 มิติ ยังคงมีวางจำหน่ายบางประเทศ (จีน, อเมริกากลาง) เช่น Doogee Y6 Max 3D, ZTE Axon 7 Max, IQ Haylett ใช้ Software แปลง 2D > 3D เป็นหลัก ส่วนกล้องระบบ 3D Stereoscopic ยุติการพัฒนาตั้งแต่ปี 2012

Depth Sensor

ถือว่าเป็นรากฐานของยุค Dual-Camera เลยทีเดียว เมื่อ HTC เปิดตัวเรือธง One M8 พร้อมกล้อง UltraPixel 4 MP + กล้อง Depth Sensor แล้วกล้องตัวรองใช้ทำอะไร ?

Depth Sensor ถ่ายภาพไม่ได้ ใช้วัดความชัดลึก ชัดตื้น ระยะของวัตถุครับ ประมวลผลร่วมกับกล้องหลัก + Software เสริม สามารถจำลองการเบลอฉากหลัง (Bokeh) / ตัดต่อภาพ / ใส่ Effect เพิ่มเติม สมจริงกว่าใช้ Software เพียงอย่างเดียว (ยกเว้น Google Pixel 2 เริ่มเอาระบบ AI มาประมวลผล)

ปัจจุบันมือถือกล้อง Dual-Camera ทุกรุ่นมี Depth Sensor เป็นฟีเจอร์พื้นฐาน สามารถจำลองค่า F ปรับระดับความเบลอ + เลือกจุดโฟกัสวัตถุอิสระครับ เรื่องความเนียนขึ้นอยู่กับ Software ส่วนตัวชอบของ Samsung, Huawei, vivo บอกเลยว่าเนี๊ยบมากๆ

Monochrome Camera

ใครจะคิดว่ากล้องขาวดำ (Monochrome) จะมาแพ็คคู่กับกล้องปกติได้ หลักการทำงานคือ เมื่อคุณถ่ายภาพ กล้อง 2 ตัวจะลั่นชัตเตอร์หลายรูปซ้อน Layer เป็นภาพเดียว ทำให้รายละเอียดภาพ สภาพแสงออกมาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยข้อดีของกล้อง Monochrome สามารถรับแสงมากกว่า RGB ปกติ + Software ประมวลผลภายใน

ขณะเดียวกัน User สามารถใช้งานกล้องขาวดำถ่ายภาพได้ คุณภาพออกมาดีกว่ากล้องปกติ + Filter

ระบบ Dual-Camera ชนิด RGB+Monochrome นำมาใช้ครั้งแรกบน Huawei P9 พัฒนาร่วมกับ Leica ปรากฏว่ากระแสตอบรับล้นหลาม ของเค้าดีจริงครับ ถ่ายวิว ถ่ายอะไรก็สวย จนรุ่นล่าสุด (Huawei Mate 10 – Mate 10 Pro) เห็นว่าอัพเกรดจากรุ่น Mate 9 อย่างเห็นได้ชัด ต้องหาโอกาสสัมผัสตัวจริงแล้วล่ะ

Nokia 8

นอกจาก Huawei ยังมีรุ่นอื่นๆ มาพร้อมระบบ Dual-Camera ชนิด RGB+Monochrome เช่น Moto G5S+, Nokia 8 เป็นต้น

Wide-Angle Lens

จากเลนส์คู่ขาวดำ + ภาพสี มาชมอีกรูปแบบของ Dual-Camera กับ Wide-Angle Lens หรือเลนส์มุมกว้างนั่นเอง รุ่นแรกที่รองรับคือ LG G5 กล้องหลัก 16 MP (F1.8) สำหรับถ่ายภาพปกติ กล้องตัวที่ 2 มาพร้อมเลนส์ไวด์ 12 mm ความละเอียด 8 MP (F2.4) ถ่ายภาพมุมกว้างโดยเฉพาะ หลายคนชอบนะครับ ถ่ายวิวสวย เก็บรายละเอียดครบ มีข้อเสียเพียง Lens Distortion (ภาพเบี้ยว) เท่านั้น

ล่าสุด LG พัฒนา Wide-Angle Lens ความละเอียด 13 MP (F1.9) ใช้งานบน LG V30 เรือธงรุ่นใหม่ ถ่ายภาพแสงน้อยคมชัด ลดปัญหา Lens Distortion ทำให้ภาพออกมาสมบูรณ์มากขึ้น

นอกจากของ LG ยังมี Moto X4 จัดกล้องเลนส์คู่ Tele+Wide 12 MP + 8 MP มาอีกรุ่น ซึ่งวางจำหน่ายบ้านเราแล้วด้วย

Telephoto

เปลี่ยนจาก Wide กลายเป็น Zoom กับเลนส์ประเภท Telephoto เอาใจสาย Portrait (ถ่ายคน) ด้วยจุดขาย 2X Optical Zoom (56 mm) พร้อม Software หน้าชัดหลังเบลอ ประมวลผลแบบ Real-Time พร้อมปรับเปลี่ยน Effect ตามต้องการ จุดขายนี้เด่นชัดมากบน iPhone 8 Series (iOS 11) ครับ ส่วน Galaxy Note 8 สามารถประมวลผลค่อนข้างเนียนมากเช่นกัน

ข้อเสียหลักของ Telephoto คือค่า F (รูรับแสง) ค่อนข้างแคบ มีผลตอนถ่ายสภาพแสงน้อยครับ Effect ไม่ทำงาน – เบลอไม่เนียนบ้าง ถือว่าเป็นข้อจำกัด

นอกจากเรือธง 2 ค่ายดัง ระบบ Dual-Camera ชนิด Telephoto มีใช้งานอีกหลายรุ่นครับ เช่น Xiaomi Mi A1, OPPO R11 ฯลฯ

ทั้งหมดนี้เป็นประเภทของกล้องเลนส์คู่ (Dual-Camera) บนสมาร์ทโฟน แต่ละแบบมีข้อดี – ข้อเสีย ลักษณะการใช้งานแตกต่างกัน ทั้งนี้ การถ่ายภาพยังมีอีกหลายปัจจัยประกอบ เช่น Software กล้อง, ระบบประมวลผลภาพถ่าย (ISP), คุณภาพเลนส์ ฯลฯ รวมถึงฝีมือของผู้ใช้เอง อันนี้สำคัญมากครับ : )

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save