Article

เมื่อ Nokia เข้าซื้อกิจการยักษ์ใหญ่ Alcatel Lucent

ความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของฟากธุรกิจสื่อสารอีกครั้งเมื่อ Nokia ตัดสินใจเข้าซื้อผู้เล่นรายใหญ่ด้านอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมที่ดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนานจากฝรั่งเศส

ความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของฟากธุรกิจสื่อสารอีกครั้งเมื่อ Nokia ตัดสินใจเข้าซื้อผู้เล่นรายใหญ่ด้านอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมที่ดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนานจากฝรั่งเศสอย่าง Alcatel-Lucent ด้วยมูลค่าที่ถือเป็นดีลครั้งใหญ่สุดของ Nokia นั่นคือ 16.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และหากเป็นไปตามแผน จะรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์ภายในต้นปี 2016

A woman holds a smartphone in front of a screen displaying both Nokia and Alcatel Lucent logos in this photo illustration in Paris, April 14, 2015. REUTERS/Benoit Tessier

A woman holds a smartphone in front of a screen displaying both Nokia and Alcatel Lucent logos in this photo illustration in Paris, April 14, 2015. REUTERS/Benoit Tessier

นับเป็นข่าวความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของ Nokia หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการตัดธุรกิจส่วนโทรศัพท์มือถือให้กับ Microsoft, ลดค่าใช้จ่ายต่างๆ และหลังจากได้เงินมาจำนวนไม่น้อย ก็เข้าไปซื้อกิจการส่วน Network กลับมาจาก Siemen (ก่อนหน้านี้คือธุรกิจ Joint Venture: Nokia- Siemens หรือ NSN) ทำให้ปัจจุบัน Nokia ดูแลธุรกิจหลักๆ คือ ส่วนอุปกรณ์โครงข่าย (Network) และธุรกิจแผนที่ HERE (ซึ่งก็มีข่าวออกมาเหมือนกันว่า Nokia ต้องการขายธุรกิจส่วนนี้ด้วย เพื่อมาทุ่มให้กับธุรกิจโครงข่ายอย่างเดียวไปเลย)

แล้ว Nokia ได้อะไร?
ความต้องการของการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ส่วนหนึ่งเห็นได้ชัดว่า มาเพื่อต่อกรกับผู้เล่นที่ยังขับเคี่ยวกันมาโดยตลอดอย่าง Ericsson และจากจีนอย่าง Huawei  ที่รายหลังกินส่วนแบ่งการตลาดในแถบเอเชียไปเยอะมาก ถ้าการซื้อ Alcatel-Lucent สำเร็จ จะเป็นการเข้าเหยียบตลาดสหรัฐฯ ด้วยฐานลูกค้าใหญ่อย่าง AT&T และ Verizon นอกจากนี้การเข้าซื้อกิจการดังกล่าว ทำให้ Nokia มีทีมงานที่จะเข้าช่วยในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี 5G เพิ่มขึ้นอีกด้วย

Photo2

ถ้าย้อนไปเมื่อ 20-30 ปีก่อนธุรกิจสายสื่อสารโทรคมนาคมด้านโครงข่าย (Network) ผู้นำคือผู้เล่นจากซีกโลกตะวันตก ไม่ว่าจะเป็น Nokia, Ericsson, Siemens, Alcatel, Lucent (สมัยที่ยังแยกกันอยู่) เรียกว่าฝรั่งครองตลาดรวมถึงบ้านเราด้วย แต่ในช่วงเวลา 10 ปีหลังที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากหลังจากมีผู้เล่นจีนเข้ามาสู่สนาม อย่าง Huawei และ ZTE แต่รายที่เติบโตเร็วจริงๆ คือ Huawei ปัจจัยที่ทำให้ Huawei สามารถเติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย

  • ยุทธวิธีแบบดับเครื่องชนด้านราคา
  • การเข้าถึงลูกค้าในรูปแบบสไตล์คนเอเชีย (ที่ฝรั่งไม่คุ้นเคย)
  • สายป่ายยาวนำเสนอให้ใช้ก่อน เน้นกิน After-sales service

ด้วยกลยุทธ์นี้ นำไปใช้กับการเจาะตลาดในหลายๆ Level ของผลิตภัณฑ์ ทั้งเสาสื่อสาร, สายส่งสัญญาณ, โครงข่าย Core-Network ทั้ง Circuit-Switch & Packet Switch, และระบบให้บริการเสริม (Value Added-Service) เป็นต้น ทำให้ผู้เล่นรายนี้กินส่วนแบ่งการตลาดในเอเชียอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่คิดว่าถ้าองค์กรที่มีผู้บริหารระดับสูงเป็นฝรั่งจะอุดหนุนและเชื่อใจฝรั่งกันเองมากกว่า แต่สุดท้ายก็เห็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือหลายรายก็หันไปใช้ Huawei กับเขาด้วย

การควบรวบกิจการเพื่อคงไว้ซึ่งความสามารถในการแข่งขันจึงเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างผู้เล่นที่เหลืออยู่จากซีกโลกตะวันตกและจีนนั่นเอง

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save