Article

อัพเดทวงการเทเลคอมบ้านเรากับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ | ปีเตอร์กวง

ธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์มือถือด้วยผู้เล่นหน้าเดิมในบ้านเรายังคงดำเนินต่อไป (AIS – DTAC – True Move H) และคงยากที่จะมีใครหน้าใหม่เข้ามาสร้างปรากฏการณ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดๆ

สวัสดีครับ พบกับผมเช่นเคย ปีเตอร์กวง ควงมือถือ พิธีกรรายการ “ล้ำหน้าโชว์” ซึ่งรายการนี้ผลิตและสร้างสรรค์โดย บริษัท ล้ำหน้าโชว์ จำกัด ที่เราทั้งสาม (พี่หลาม ปีเตอร์กวง อาจารย์ศุภเดช) ได้ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ด้วยกันเพื่อให้ผู้ชมได้บริโภคสาระดีๆ ที่ให้ความรู้ด้านไอทีและเทเลคอม บวกกับความบันเทิงตามสไตล์แบบของพวกเราไปด้วย โดยออกอากาศทางช่อง Nation Channel (เนชั่นแชนแนล) รับชมได้ที่ช่อง 22 ทั้งทางทีวีดิจิตอลและทีวีดาวเทียม ทุกวันอาทิตย์ ออกอากาศสดเวลา 15:00-16:00 อยากให้ติดตามกันเยอะๆ นะครับ แล้วบ่ายวันอาทิตย์ของคุณ จะมีความหมายมากกว่าเดิม… สำหรับตัวผมเองก็ยังประจำการใน What Phone Magazine ทุกเดือนเหมือนเช่นเคยครับ เพื่อไขข้อข้องใจและเก็บตกข่าวคราวความเคลื่อนไหวในวงการเทเลคอม ทั้งในบ้านเราและต่างประเทศ สำหรับฉบับนี้ก่อนอื่นต้องขอกล่าวคำว่า สวัสดีปีใหม่ 2560 นะครับ ขออวยพรให้ผู้อ่านทุกท่านจงประสพแต่ความสุขสวัสดี สมหวังในสิ่งที่คิดหวัง สุขภาพแข็งแรงตลอดปีตลอดไปนะครับ กลับมาเรื่องของเราตอนนี้ก็ขึ้นปีใหม่ละ ผมก็เลยอยากพูดถึงสิ่งทีผมคาดว่าจะเกิดขึ้นในวงการเทเลคอมบ้านเราละกัน ว่าเราจะได้เห็นอะไรกันบ้าง จากประสบการณ์ส่วนตัวของผม

Operator 3 ค่ายลุยการตลาดกันต่ออย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ผู้บริโภคยิ้มสิครับ

aisdtactrue

ธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์มือถือด้วยผู้เล่นหน้าเดิมในบ้านเรายังคงดำเนินต่อไป (AIS – DTAC – True Move H) และคงยากที่จะมีใครหน้าใหม่เข้ามาสร้างปรากฏการณ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดๆ อาจจะมีบ้างเป็นรายเล็กๆ ที่ก็เกิดจากอดีตผู้บริหารในบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่ผันตัวเองมาทำเองอย่าง เพนกวิน แต่ก็อาจสร้างความสนใจได้ในช่วงแรกเท่านั้น ตราบใดที่ไม่มีทรัพยากรความถี่และเครือข่ายเป็นของตัวเอง ก็ลำบากที่จะไปเขย่าบัลลังก์ของสามยักษ์ให้กระเพื่อมได้

gmyy6jwgjr

หรือถ้าจะนึกถึงชื่อระดับโลกอย่าง Vodafone, T-Mobile, Sprint, Telefonica ก็เชื่อได้เลยว่าคงไม่ได้เล็งมาที่ตลาดไทยในสายตาของพวกเขา เพราะความเป็นจริงแล้วตลาดไทยในแง่ของจำนวนผู้ใช้หรือเบอร์ที่ใช้อยู่ ก็เกินจำนวนประชากรไปนานมากแล้ว พูดง่ายๆ ว่าอิ่มตัว และการเติบโตช้าลง ทำให้นักลงทุนต่างชาติ คงไม่คิดที่จะมาแสวงหาโอกาสที่จะแข่งขันกับรายเดิมที่ครองตลาดอยู่ เพราะอาจจะเจ๊ง ไม่คุมการลงทุนใดๆ ในระยะยาว สู้ไปทำในตลาดประเทศด้อยพัฒนาที่ยังมีโอกาสมากกว่าแน่ๆ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม เราไม่เห็นบริษัทต่างชาติ มาร่วมทุนกับบริษัทไทยเพื่อเข้าการแข่งขันการประมูลความถี่ที่ผ่านมา ทั้งความถี่ 900 MHz, 1800 MHz

เพราะฉะนั้นต่อจากนี้ก็คงยังเป็นการแข่งขันกันของผู้ประกอบการรายเดิมเหมือนเคย แต่ความเข้มข้นก็เริ่มขึ้นตั้งแต่ปีก่อน ที่แต่ละเจ้าก็พยายามแย่งลูกค้ากัน ชวนกันย้ายค่ายเบอร์เดิมมาสู่ระบบของตัวเอง โดยเอาเครื่องสมาร์ทโฟนราคาถูกหรือฟีเจอร์โฟน (มือถือแบบปุ่มกด) มาเป็นตัวล่อ เพื่อชวนย้ายค่าย แล้วต้องเติมเงินล่วงหน้า หรือแม้แต่จดทะเบียนเป็นแบบรายเดือน หรือแม้แต่ชวนลูกค้ารายเดือนของคู่แข่งให้ย้ายค่ายมาอยู่กับตัวเองโดยใช้สมาร์ทโฟนตัวระดับกลางๆ (ต่ำหมื่น) มาเป็นตัวกลไกในการโน้มน้าวใจให้ลูกค้าย้ายค่ายไป หรือแม้แต่รักษาลูกค้าตัวเองไว้ไม่ให้ไปไหน แต่ก็ต้องมีการผูกเซ็นสัญญาไว้ในระยะเวลา 6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อให้คุ้มกับค่าส่วนลดที่ทาง Operator ได้ยอมลดให้ลูกค้ารายนั้นๆ

dtaclandingshare

truemove-h-iphone-7-1-e1479421933141

20160820235645

ขณะที่ลูกค้าเดิมก็สามารถซื้อเครื่องใหม่ด้วยการจ่ายค่าบริการล่วงหน้า แล้วได้ส่วนลดค่าเครื่อง พร้อมกับผูกสัญญาการใช้บริการอย่างน้อย 6 เดือนก็ว่ากันไป สิ่งนี้เราคงเห็นมากขึ้นในปี 2017 เพราะยังไงเครื่องก็ถือเป็นกลการสำคัญในการที่ลูกค้าจะสนใจที่จะใช้บริการต่อ ยอมติดสัญญาเพื่อส่วนลด เพราะวันนี้ถ้าคุณเป็นลูกค้าแบบรายเดือน แล้วมาซื้อเครื่องราคาเต็ม ถือว่าไม่คุ้มด้วยประการทั้งปวงแล้ว ยังไงเสียคุณก็ต้องใช้มือถืออยู่ดี สู้ยอมจ่ายล่วงหน้า แล้วได้ส่วนลด พร้อมผูกติดสัญญาในช่วงเวลาหกเดือนหรือหนึ่งปี ก็ถือว่าคุ้มค่ากว่ามากครับ

การทำส่วนลดค่าเครื่อง (Subsidized value) โดย Operator ก็กลายมาเป็นสิ่งเสพติดของวงการไปโดยปริยาย เพราะเป็นกลไกตลาดที่ทุกรายต่างก็ทำทั้งสิ้น จากอดีตทำเป็นบางรุ่น จนมาวันนี้ก็ทำทุกรุ่นไปแล้ว สะท้อนให้เห็นถึงการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชนิดที่ว่าถ้าไม่ทำแคมเปญแล้ว คู่แข่งก็ทำอยู่ดี อีกด้านร้านค้าอย่าง TG Fone หรือ Jaymart วันนี้ก็ปรับตัวกับกลไกลแบบนี้ โดยจับมือร่วมกับ Operator แล้วนำเอาแคมเปญเหล่านี้มาสู่ที่ร้านด้วยเช่นกัน เมื่อลูกค้ามาซื้อแล้วทางร้านต้องให้ส่วนลดไปก่อน แล้วไปเรียกเก็บจาก Operator ในภายหลัง ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไร สำหรับลูกค้าหรือผู้บริโภคก็ยิ้มเลย รอดูใครให้ส่วนลดมากกว่ากัน ใครให้ค่าโทรค่าเนตมากกว่ากัน ก็พร้อมจะย้ายค่ายกันเลยทีเดียว

ขณะที่กลไกล่าสุดบางกรณีก็มีส่วนลดกันมากถึง 50% ของราคาขาย แต่ลูกค้าต้องเปิดเบอร์ใหม่เท่านั้น ก็เป็นลูกเล่นของแคมเปญต่างๆ กันไป แต่สุดท้ายก็เลียนแบบกันมีกันทุกราย คาดว่าปีนี้ก็คงยังไม่ผ่อนคันเร่ง มีแต่ว่าทุกรายก็คงกดคันเร่งกันไปเต็มๆ เพื่อที่จะเร่งหนีคู่แข่ง หรือวิ่งตามคนข้างหน้าให้ทัน ปี 2017 น่าจะเป็นปีของลูกค้ารายเดือนที่จะได้อานิสงเหล่านี้มากขึ้น ถ้าคุณยังเป็นลูกค้าแบบเติมเงิน ก็แนะนำให้คอยเฝ้าดูข้อเสนอใหม่ๆ ที่จะออกมาหลอกล่อให้คุณย้ายไปเป็นแบบรายเดือนต่อไป แต่ไม่ต้องกังวล ยังไงลูกค้าก็มีทางเลือกมากมายและมีแต่ผลประโยชน์มาสมนาคุณให้ทั้งนั้น

ความต้องการยังไม่มีวันหมด จับตาดูความถี่อีกสองย่าน จะได้ใช้หรือจะเก็บไว้เข้าลิ้นชัก

5g-city-future

office-future

ในการให้บริการโทรศัพท์มือถือ สิ่งสำคัญต่อการให้บริการที่ดีมีคุณภาพนั้น จำนวนความถี่ที่มีเป็นสิ่งสำคัญมาก ล่าสุดที่ทาง กสทช. ได้ทำการประมูลความถี่ไปนั้น บางรายก็ได้ความถี่กันไปสมความปรารถนา ขณะที่บางรายอาจยังไม่ได้ตามเป้านัก อย่างไรก็ดีบอกได้เลยว่าความถี่ที่แต่ละรายถือครองอยู่นั้น วันหนึ่งข้างหน้าก็ต้องหามาเพิ่มอีก เป็นไปตามเทคโนโลยีที่วิ่งไปและความถี่ที่มีต้องถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและสาธารณชนถึงจะถูกต้อง อย่างในอนาคตอันใกล้ เทคโนโลยี 5G ก็กำลังจะมา (คาดว่าประมาณปี 2020) ซึ่งความถี่ที่มีวันนี้ก็อาจจะไม่เพียงพอต่อการก้าวข้ามจากเทคโนโลยีเดิมไปสู่เทคโนโลยีใหม่อย่างแน่นอน เพราะจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการนั้น การใช้เทคโนโลยี 5G ให้ไปได้ถึงขีดสุดของความเร็วที่พึงจะทำได้ คือ 10 Gbps นั้น ต้องมีความถี่ในการใช้งานสูงถือ 200 MHz เลยนะครับ แล้วเราจะเอาความถี่จากไหนหรือ แม้แต่ปัจจุบัน บนเทคโนโลยี 4G นั้นความถี่ที่มีอยู่ก็ไม่สามารถที่จะไปถึงขอบสุดของ LTE Advanced ได้ดีนักสำหรับอนาคตอีกสองสามปีต่อจากนี้ สำคัญคือความถี่ที่เป็นทรัพยากรของชาติ จะถูกจัดสรรอย่างไรต่อไป เพื่อไม่ให้ประโยชน์ตกอยู่กับคนไม่กี่คน ความถี่ย่าน 2,300 MHz ที่ปัจจุบันอยู่กับ TOT จะนำมาจัดสรรได้ไหม (ล่าสุด กสทช.ไม่อนุญาตให้ TOT เอาไปจัดสรรให้ใครหรือเอาไปใช้แต่อย่างใด)

stocksnap_ry5j4xbyjv

หรือความถี่ย่าน 2,600 MHz ที่ถือครองโดย อสมท. จะนำเอาคืนมาให้ไปใช้เพื่อกิจการโทรคมนาคมได้หรือป่าว เพราะสองย่านความถี่นี้ก็มีมากพอสมควรเลยทีเดียว ถ้าการจัดสรรเหล่านี้ไม่ลงตัว ก็คงต้องพับแผนไป แล้วรอให้ กสทช. ได้สิทธิในความถี่นี้คืนมาแล้วนำไปประมูลต่อไปในอนาคต (อันใกล้หรือไกลไม่มีใครทราบได้) แต่ถ้ามองเพื่อประโยชน์ของชาติ กสทช. ก็ควรจะลงมาดูตรงนี้อย่างใกล้ชิดและประชาสัมพันธ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นให้สังคมได้ทราบต่อไป

มือถือยักษ์ใหญ่ ยังคงเล่นเกมการตลาดกันต่อไป รายเล็กต้องหันมาลุยบ้างแล้ว

cx8n6ujuuaaprbt


vivo-v5-promotion

อย่างที่เราเห็นกันในตอนนี้ สมาร์ทโฟนจากมือถือยักษ์ใหญ่ กลายมาเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับ Operator ผู้ให้บริการ เพื่อจูงใจให้ลูกค้าหันมาหาบริการของตนเองแล้วไม่ย้ายค่ายหนีไปไหน เจ้าใหญ่ที่มี Market Share อยู่มากๆ อย่าง Samsung, Apple, OPPO, vivo ล้วนแล้วแต่เล่นเกมการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าของตัวเองจะอยู่ในเรดาห์ของผู้บริโภค และกลายเป็นตัวเลือกของลูกค้าอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย แต่ก็มีการจัดสรรกันอยู่บ้างว่า รุ่นไหนควรให้ Operator ไปทำ รุ่นไหนจะทำเองในตลาดขายปลีก การจัดสรรเงินในการทำการตลาด การสร้างแบรนด์ยังเป็นเรื่องสำคัญในอันดับต้นๆ

o79njqfqyxxre6lsdrm-o

ยกตัวอย่างปีที่แล้ว มือถือยักษ์ใหญ่ล้วนแล้วแต่จ้าง Presenter กันทั้งนั้น เพื่อเป็นตัวแทนในการทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นและเป็นแม่เหล็กให้ลูกค้าหันมาหาสินค้าเหล่านั้นตามดาราตัวแม่ไปอย่างชัดเจน อาทิ Samsung ที่ใช้ดาราวัยรุ่นอย่าง เจเจ OPPO ใช้ ใหม่ ดาวิกา เป็นแม่เหล็กในการสร้างภาพ เฉกเช่นเดียวกับ True Move H หรือจะเป็นอย่าง vivo ที่ใช้งบประมาณมหาศาลกับการโปรโมท V5 ด้วยการใช้ดาราตัวแม่อย่าง อั้ม พัชราภา เป็น Brand Ambassador ด้วยหวังว่าจะสร้างยอดขายพร้อมกับการยอมรับในแบรนด์ vivo ให้มากขึ้นในอีกระดับ

15355757_1822884457926884_3229037302281799742_n

image-57830_5

ปิดท้ายกับ Huawei ก็เปลี่ยนจากการใช้ดาราชายอย่าง อาเล็ก มาเป็น มิว นิษฐา ที่กำลังโด่งดังเป็นพลุแตกเพื่อผลักดันสินค้าอย่าง GR5 (2017) ทำให้การแข่งขันในปี 2017 จะต้องเข้มข้นขึ้นอีกเป็นทวีคูณ นอกจากนี้ยังมีการช่วงชิงพื้นที่ขายในแต่ละห้างสรรพสินค้า พื้นที่ในการโชว์เครื่องสาธิต (Live Demo) การเพิ่มพนักงานขายไปในทุกๆ ร้านที่เป็นพันธมิตร เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถปิดการขายได้ด้วยตัวเองไม่ต้องพึ่งใคร สำหรับรายเล็ก (ยอดขายน้อย) ก่อนหน้านี้ก็หันไปทำแต่การใช้สื่อ Online โดยส่วนตัวมองว่าจำเป็นมากที่ต้องหันมาใช้สื่อครบวงจรแบบ 360 องศาเพื่อปูทางไปสู่อนาคตให้เร็วที่สุด รายเล็กที่ผมคาดไว้ว่าปีนี้ก็พยายามจะทุ่มเทกันมากกว่าเดิม ก็เห็นจะเป็นแบรนด์อย่าง Sony, LG, Wiko หรือแม้แต่ HTC ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้บริหารแต่ละยี่ห้อแล้วว่า จะอยากให้สินค้าของตัวกลับมาเกิดใหม่ได้อีกครั้ง หรือหายไปเลยตลอดกาล การตลาดสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของ แบรนด์ระดับโลกเหล่านี้ที่วันนี้หกล้มลงไปหลายต่อหลายครั้งแล้วก็ตาม แต่ถ้ามุ่งมั่นที่จะทำจริงๆ ผมเชื่อว่าแบรนด์เหล่านี้ก็มีสินค้าที่ดี ที่พร้อมจะรองรับกับลูกค้าในยุคนี้อย่างแน่นอน

สำหรับแฟนๆ ท่านใดที่มีคำถาม สามารถติดตามมาได้ที่ twitter ของผม @peter2514 นะครับ ส่วน facebook ตามมาได้ที่ Techoffside ถ้าจะติดตาม Instagram ก็ Search หา ID “peter2514” ได้นะครับ แล้วเจอกันใหม่ฉบับหน้านะครับ ขอบคุณทุกการติดตามครับ

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save