Article

กล้องบนสมาร์ทโฟน กับวิวัฒนาการจนมาถึงวันนี้ | ปีเตอร์กวง

สวัสดีครับ พบกับผมเช่นเคย ปีเตอร์กวง ควงมือถือ พิธีกรรายการ “ล้ำหน้าโชว์” ซึ่งรายการนี้ผลิตและสร้างสรรค์โดย บริษัท ล้ำหน้าโชว์ จำกัด ที่เราทั้งสาม (พี่หลาม ปีเตอร์กวง อาจารย์ศุภเดช) ได้ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ด้วยกันเพื่อให้ผู้ชมได้บริโภคสาระดีๆ ที่ให้ความรู้ด้านไอทีและเทเลคอม บวกกับความบันเทิงตามสไตล์แบบของพวกเราไปด้วย โดยออกอากาศทางช่อง Nation Channel (เนชั่นแชนแนล) รับชมได้ที่ช่อง 22 ทั้งทางทีวีดิจิตอลและทีวีดาวเทียม ทุกวันอาทิตย์ ออกอากาศสดเวลา 15:00-16:00 อยากให้ติดตามกันเยอะๆ นะครับ แล้วบ่ายวันเสาร์ของคุณ จะมีความหมายมากกว่าเดิม… สำหรับตัวผมเองก็ยังประจำการใน What Phone Magazine ทุกเดือนเหมือนเช่นเคยครับ เพื่อไขข้อข้องใจและเก็บตกข่าวคราวความเคลื่อนไหวในวงการเทเลคอม ทั้งในบ้านเราและต่างประเทศ สำหรับฉบับนี้จะมาพูดเรื่องของ กล้องกับสมาร์ทโฟนในยุคนี้

กล้องนั้นสำคัญไฉน ทำไมสมาร์ทโฟนกล้องต้องมาก่อน

นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2000 ที่ทาง Samsung ได้เปิดตัว Camera Phone (โทรศัพท์มือถือที่มีฟังก์ชั่นกล้องถ่ายรูป) ในชื่อรุ่น SCH-V200 ที่ ได้วางจำหน่ายในกรุงโซล เกาหลีใต้ โดยมีความละเอียดของภาพอยู่ที่ 0.35 ล้านพิกเซล และถ่ายได้สูงสุดเพียง 20 รูปเท่านั้น และต้องต่อเชื่อมกับ คอมพิวเตอร์ในเวลาที่เราต้องการภาพนั้นออกมาสู่คอมพิวเตอร์หรือส่งไปยัง email ต่างๆ นับตั้งแต่นั้นโทรศัพท์มือถือและฟังก์ชั่นกล้องก็กลายเป็นสิ่งที่ผูกติดกันไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย ทุกยี่ห้อต่างก็ต้องเข็นโทรศัพท์มือถือของตัวเองที่มีกล้องออกมากันทั้งสิ้น และกล้องกลายเป็นความจำเป็นต่อการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์เสมอ อาทิเช่น Motorola เปิดตัว Camera phone ตัวแรกในชื่อ Motorola E365 ในไตรมาสสองปี 2003 หรือจะเป็นค่าย Nokia เปิดตัวรุ่น 7650 Smartphone Symbian OS ตัวแรกในไตรมาสแรกปี 2002 ซึ่งมีกล้องด้านหลังความละเอียดระดับ VGA มาด้วยMoto_e365_2

Nokia 7650_2

ขณะที่ Sony Ericsson ก็เปิดตัว Smartphone Symbian OS ตัวแรกในไตรมาสสามปี 2002 เช่นกันในรุ่น P800 ที่มีฟังก์ชั่นกล้องเป็นครั้งแรกอีกด้วย ยุคที่ดิจิตอลแทรกเข้ามาอยู่กลางรูปแบบชีวิตใหม่ของผู้คน การที่คนเรามีกล้องติดตัว(กับมือถือ) ไปไหนมาไหนกลายเป็นสิ่งสะดวกในการบันทึก เก็บข้อมูล เก็บความทรงจำ ผ่านเลนส์กล้องของโทรศัพท์มือถือของเราไม่ว่าจะอยู่ที่ใด สถานการณ์ไหน หรือใช้เป็นหลักฐานประกอบกับสิ่งต่างๆ ทำให้กล้องติดโทรศัพท์มือถือกลายเป็นฟังก์ชั่นชิ้นเอกที่ช่วยในการตัดสินใจว่าจะเลือกโทรศัพท์มือถือรุ่นนั้นหรือไม่ ด้วยการดูจากภาพที่ถ่ายออกมาจากโทรศัพท์มือถือรุ่นนั้นๆ

SE P800

กาลเวลาผ่านไปวิวัฒนาการของกล้องบนโทรศัพท์มือถือจึงถูกเอามาเปรียบเทียบกันเสมอ และไม่ใช่แค่ภาพนิ่งเท่านั้น ภาพเคลื่อนไหวอย่างวิดีโอก็เป็นสิ่งจำเป็นไปแล้วเมื่อผู้บริโภคจะเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนวันนี้ ยิ่งยุคนี้เป็นยุคของ Social Media ที่ผู้คนต่างแชร์เรื่องราวรูปภาพ วิดีโอ ของตัวเองออกไปสู่ครอบครัว เพื่อนฝูง หรือแม้แต่สาธารณะแก่คนที่เราไม่รู้จัก ผ่านทาง Facebook, Twitter, Instagram, Line และอื่นๆ โดยหวังว่าจะได้รับความนิยม ได้รับการยอมรับ หรือแม้แต่เพื่อการแบ่งปันแก่คนที่เรารู้จัก (หรือไม่รู้จักก็ตาม) เพราะฉะนั้นยุคนี้หลายๆ คนก็มักจะเลือกโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนโดยเลือกจากกล้องเป็นจุดหลักก่อนที่จะตัดสินใจในส่วนอื่นตามมา

กล้องบนสมาร์ทโฟน กับวิวัฒนาการจนมาถึงวันนี้

BB3307280A

ตั้งแต่วันที่โทรศัพท์มือถือมีกล้องเป็นครั้งแรก เป็นกล้องหลักที่อยู่ด้านหลังไม่มีกล้องหน้า และความละเอียดกล้องเพียงแค่ 0.35 ล้านพิกเซล หรือความละเอียดระดับ VGA เท่านั้น จนพัฒนามามีกล้องหน้าด้วยเพื่อใช้ในการทำ 3G VDO Call จนกลายมาเป็นการนำเอากล้องหน้ามาทำเป็นกล้องถ่ายตัวเอง (Selfie Camera) จากนั้นการพัฒนากล้องก็มีมาตลอดกว่า 16 ปีที่ผ่านมา มาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไป

  • การถ่ายวิดีโอได้ จากสมัยแรกๆ ที่การถ่ายหรือบันทึกวิดีโอบนโทรศัพท์มือถือทำได้เพียงความละเอียด 176 x 144 พิกเซลเท่านั้น หลังจากนั้นก็พัฒนามาเป็นความละเอียดระดับ HD (720p), Full HD (1080p), 2K (2160p), 4K (4320p) ตามลำดับ แล้วยังมีฟังก์ชั่นการถ่ายแบบ Slow Motion หรือแบบ Time Lapsed ได้อีกด้วย และคาดว่าในอนาคตอันใกล้การถ่ายภาพและวิดีโอแบบ VR (Virtual Reality) จะได้รับความนิยมมากเช่นกันโดยเฉพาะตอนนี้ทาง Facebook ประกาศการรองรับการโหลดภาพและวิดีโอลงใน Facebook ส่วนบุคคลได้แล้ว
  • ภาพความละเอียดระดับสูง จากเริ่มต้นที่ภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือมีความละเอียดเพียง 35 ล้านพิกเซล พัฒนาไปเป็น 1.3 ล้านพิกเซล ต่อไปเป็น 2 ล้าน, 3.2 ล้าน, 5 ล้าน, 8 ล้าน, 12 ล้าน, 16 ล้าน, 18 ล้าน, 20 ล้าน และล่าสุด 23 ล้านพิกเซล ความละเอียดสูงขนาดนี้ไม่ได้หมายความว่าคุณภาพจะดีหมดนะครับ แต่บอกถึงขนาดของภาพที่สามารถขยายได้ใหญ่มากแค่ไหน ภาพจะดีคุณภาพจะดีต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ อีกเช่น คุณภาพของเลนส์ และสภาพแสงที่ถ่ายในขนาดนั้น
  • กล้องหน้าเพื่อการถ่ายภาพ Selfie จากการที่กล้องหน้ามีเพื่อการทำ 3G VDO Call ให้สองฝั่งคู่สนทนาได้เห็นหน้ากัน กลายมาเป็นกล้องเพื่อใช้ถ่ายตัวเองอย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อการเล็งกล้องหลังแล้วถ่ายตัวเองทำได้ยากและไม่เห็นองค์ประกอบของภาพในขณะที่ถ่าย โทรศัพท์มือถือตัวแรกที่มีกล้องหน้าคือ Sony Ericsson Z1010 หลังจากนั้นกล้องหน้าบนโทรศัพท์มือถือก็ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดสมาร์ทโฟน Sony Xperia XA Ultra มาพร้อมฟังก์ชั่นกล้องหน้าความละเอียดระดับ 16 ล้านพิกเซลเลยทีเดียว เพื่อเอาใจคอถ่ายภาพ Selfie ที่มีมากขึ้นและนิยมมากขึ้นนั่นเอง
  • ปุ่มชัตเตอร์สำหรับถ่ายรูปโดยเฉพาะ เกิดขึ้นครั้งแรกกับ Nokia N70 ที่วางตลาดในปี 2005 นั่นเอง (N70 เป็นสมาร์ทโฟนยุคแรกๆ ที่ขายดีมากๆ รุ่นหนึ่ง) หลังจากนั้นก็มีการพัฒนากันเป็นจริงเป็นจังมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น Sony Ericsson K800i ที่มีปุ่มชัดเจน และมีอีกมากมายหลายยี่ห้อหลายรุ่นที่ใช้คอนเซปท์เดียวกันในการออกแบบ

5783999789_8756da6351_o

UQ873FVZ5S

  • ระบบ Auto Focus ซึ่งในยุคแรกของกล้องบนโทรศัพท์มือถือจะเป็นแบบ Fixed Focus จนกระทั่งมาในปี 2005 Sony Ericsson K750 ได้ถูกพัฒนามาให้รองรับการเคลื่อนที่ของเลนส์เพื่อปรับระยะโฟกัสให้แม่นยำและชัดเจนมากขึ้น จนมาถึงในรุ่นปัจจุบันอย่าง Sony Xperia X ที่สมาร์ทโฟนสามารถทำ Auto Focus แบบที่ติดต่อวัตถุที่เคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำ แม้วัตถุนั้นจะวิ่งจากซ้ายไปขวา หรือจากหลังมาหน้าก็ตาม หรือแม้แต่เทคโนโลยีที่โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของเราจะเก็บข้อมูลของภาพที่ถ่ายได้แล้วไปปรับโฟกัส ให้หน้าชัดหลังเบลอ หรือหน้าเบลอหลังชัดในภายหลังก็ทำได้ด้วยบน HTC One M8 (มีสองกล้องหลัง) ล่าสุดก็มีการใช้แสงเลเซอร์เพื่อช่วยหาโฟกัสในที่แสงน้อยอย่าง LG G4, Asus Zenfone Laser เป็นต้น
  • เลนส์คุณภาพระดับสูง Nokia เป็นเจ้าแรกที่นำเอาเลนส์คุณภาพสูงอย่าง Carl Zeiss มาใช้กับ Nokia 90 ทำให้ผลออกมาเป็นที่น่าประทับใจมาก หลังจากนั้น Sony Ericsson ก็ทำบางในการนำเอาเลนส์ Sony G มาใช้ขณะที่ LG ก็เคยนำเอาเลนส์จาก Schneider-Kreuznach มาเป็นพันธมิตรอยู่ช่วงหนึ่ง Motorola ก็เคยจับมือกับ Kodak มาแล้วเช่นกัน เคสปัจจุบันล่าสุดเราก็ได้เห็น Huawei กลับมากพลิกเกมด้านนี้ด้วยการร่วมมือกับ Leica เพื่อสร้างความสนใจใน P9/P9 Plus จนเป็นกระแสสนใจทั่วโลกทำให้หลายๆ คนหันมาหา Huawei Smartphone P9/P9 Plus
  • เลนส์แบบ Optical Zoom Nokia เป็นเจ้าแรกในการนำเอาเลนส์แบบ Optical Zoom จาก Carl Zeiss มาใช้เพื่อให้การซูมภาพได้ระยะที่ดีและยังคงคุณภาพที่สูงมากกว่าการใช้ Digital Zoom มาก ตัวอย่างเช่น Nokia N93 แล้วยังมี Samsung Galaxy K Zoom ที่หันมาใช้เลนส์ซูมแบบ Optical เช่นกัน แต่การใช้เลนส์แบบนี้ก็มีข้อเสียคือ ดีไซน์จะทำให้เครื่องมีความหนาค่อนข้างมากนั่นเอง ทำให้ไม่ได้รับความนิยม เพราะพกพาลำบาก
  • Xenon Flash ปัญหาหนึ่งของกล้องมือถือและสมาร์ทโฟนคือการใช้ไฟแฟลชที่มีแสงสว่างเพียงพอ ไฟแฟลชแบบ LED อาจไม่ได้ผลดีมากนักถ้าต้องการภาพในมุมกว้าง Sony Ericsson นำเอา Xenon Flash (ที่ใช้ในกล้อง Compact) มาประยุกต์ใช้กับ Sony Ericsson K800, K850 หรือจะเป็นอย่าง Nokia N82, N95, Lumia 1020 เป็นต้น แต่ปัจจุบันก็เริ่มไม่ค่อยนิยมแล้วเนื่องจากว่าเซนเซอร์รับภาพได้ถูกพัฒนาไปมากแล้ว สามารถถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยได้ดีกว่าเมื่อก่อนเยอะ ทำให้การใช้ไฟแฟลชแบบ LED ก็เพียงพอแล้วสำหรับการถ่ายภาพในที่มืด

photo-1431664207401-c7b002aad93c

photo-1444807170760-4577a415e754

photo-1458748600212-a4c65493cbfd

  • Variable Aperture ความสามารถในการปรับภาพแบบแมนนวลสำหรับรูรับแสงของกล้องบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ทำให้กล้องสามารถทำงานได้ดีขึ้นมากเมื่อเจอสภาพแสงน้อย หรือสภาพแสงมาก หรือแม้แต่ในการทำให้ภาพมีความชัดตื้นบนภาพของเรา ในขณะที่สมาร์ทโฟนบางยี่ห้อสามารถปรับให้การเปิดรูรับแสงของกล้องได้นานขึ้นจนสามารถถ่ายภาพกลางคืน ภาพดวงดาวบนท้องฟ้าได้ ไม่แพ้กับกล้อง DSLR เลยทีเดียว ปัจจุบันกล้องสมาร์ทโฟนรุ่นกลางถึงสูงส่วนใหญ่จะมีฟังก์ชั่นนี้ให้เราได้ปรับด้วยตัวเอง
  • HDR (High Dynamic Range) ฟังก์ชั่นนี้ทำให้ภาพของเราสามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้ครบแม้ว่าเราจะอยู่ในสภาพแสงที่มากเกินไป หรือน้อยเกิน คล้ายๆ กับการถ่ายภาพคล่อมเพื่อให้ได้ภาพที่ทั้งแสงพอดี แสงน้อยไป แสงมากไป แล้วนำมารวมกันเพื่อให้ได้ภาพที่ยังคงความละเอียดได้ครบทั้งภาพทั้งในส่วนมืดและส่วนสว่างของภาพ ปัจจุบันในกล้องสมาร์ทโฟนแทบทุกรุ่นก็มีความสามารถนี้ทั้งสิ้น
  • Camera Image Sensor ผมกำลังหมายถึงเซนเซอร์รับภาพที่เขาใช้กันในกล้องดิจิตอลนั่นเอง ในอดีตกล้องมือถือไม่ได้ใช้ Image Sensor รับภาพแบบกล้องจริง แต่ด้วยความจริงจังในการพัฒนาเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีมากบนสมาร์ทโฟน จึงมีการนำเอา Image Sensor ขนาดเล็กมาใส่ในกล้องสมาร์ทโฟน โดย Image Sensor ที่นิยมกันในระดับท็อปก็ได้แก่ Sony Sensor และยังมีอีกหลายค่ายที่พัฒนา Image Sensor สำหรับกล้องมือถืออีกมากมาย เช่น Omnivision, Samsung, Panasonic, Toshiba เป็นต้น
  • OIS Technology เทคโนโลยี Optical Image Stabilization คือเทคโนโลยีในการที่เลนส์ของกล้องจะปรับตัวให้เคลื่อนไหวไปตามความสั่นไหวของกล้องมือถือในขณะที่เราจะถ่ายภาพเพื่อป้องกันไม่ให้ภาพออกมาดูไหวหรือไม่นิ่ง ถ้าเป็นการถ่ายวิดีโอก็จะได้ภาพนั้นไหวน้อยลงมาก แม้มือของเราจะไม่อยู่นิ่งก็ตาม
  • การถ่ายภาพขณะที่ถ่ายวิดีโอ ปัญหาหนึ่งของการที่เราต้องทำสองอย่างในเวลาเดียวกัน คือการถ่ายวิดีโออยู่แต่เราอยากได้ภาพนิ่งตอนนั้นด้วย ปัจจุบันในกล้องสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่จะรองรับฟังก์ชั่นนี้แล้ว ทำให้เราได้ภาพนิ่งไปพร้อมๆ กับภาพวิดีโอเลย ไม่เหมือนในอดีตที่ต้องเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
  • ถ่ายภาพทันทีแม้เครื่องล็อคอยู่ การปลดล็อคเครื่องแล้วเข้าสู่โหมดกล้องได้ทันทีเพียงเสี้ยววินาที หรือบางยี่ห้อจะถ่ายภาพให้เราได้ทันที เป็นประโยชน์มากสำหรับการเรียกใช้กล้องในเวลารีบด่วน ปัจจุบันเพียง 0.5 วินาทีก็ทำให้เราได้ภาพในทันที หรือพร้อมถ่ายในทันทีที่สัมผัสตัวกล้องแล้วกดปุ่มชัตเตอร์ค้างไว้

photo-1444021907648-1baf30e38d9e

  • Panorama Photo ภาพแบบแนวกว้างที่สมัยก่อนต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อถ่ายให้ได้มาอย่างนั้น ปัจจุบันการถ่ายภาพแบบนี้มีอยู่ในฟังก์ชั่นกล้องสมาร์ทโฟนแทบทุกรุ่น แต่ภาพจะมีความละเอียดดีมากแค่ไหนก็อยู่ที่เลนซ์และสภาพแสงที่ถ่ายด้วยนะครับ
  • Dual Lens สมาร์ทโฟนแบบกล้องคู่ ถือว่ามีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากในการประยุกต์ให้อีกเลนส์มาทำให้ภาพที่ได้นั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น LG Optimus 3D ที่มีกล้องหลังสองเลนซ์เมื่อถ่ายแล้วจะได้ภาพแบบ 3 มิติ พร้อมหน้าจอ 3 มิติที่เห็นภาพ 3 มิติโดยไม่ต้องใส่แว่น หรือจะเป็น HTC one M8 ที่มีกล้องหลังสองเลนซ์เพื่อเก็บข้อมูลของภาพแล้วมาปรับภาพหลังถ่ายให้มีมิติชัดลึกได้ตามต้องการ และล่าสุด Huawei P9 ที่ร่วมกับ Leica ในการทำกล้องคู่ด้านหลังโดยเลนซ์ที่สองจะเก็บภาพแบบ Monochrome หรือภาพขาวดำ แล้วนำภาพที่ได้ไปรวมกับภาพสีปกติ จะทำให้เฉดสีของภาพสวยสมจริงมากกว่า

กล้องหลังกับกล้องหน้า กล้องไหนสำคัญกว่ากัน

Sony_Xperia_XA_Ultra_03

ในอดีตที่เราเริ่มใช้กล้องบนสมาร์ทโฟนในการถ่ายภาพกันได้นั้น ผู้ผลิตได้พยายามในการพัฒนากล้องหลักด้านหลังให้ดีขึ้นมากที่สุด พอมาถึงยุคที่ผู้คนอยู่กันเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น คนเป็นโสดมากขึ้น ไปเที่ยวคนเดียวมากขึ้น กล้องด้านหน้าก็กลายมาเป็นความสำคัญไม่แพ้กันเลย โดยเราก็มักใช้กล้องหลักด้านหลังถ่ายภาพวิว หรือภาพที่อยู่ตรงหน้าเราให้ดีและสวยที่สุด แต่ก็อย่างว่าครับกับยุค Social Media ทุกคนพยายามแชร์บอกเล่าเรื่องราวของตัวเองและแบ่งปันผ่าน Facebook, Instagram, Twitter มากขึ้น ทำให้ผู้ใช้เองก็อยากได้กล้องหน้า Selfie ที่ดีๆ สวยๆ ไม่แพ้กล้องหลัง ทำให้มีผู้ผลิตมากมายหันมาทำให้กล้องหน้าถ่ายได้สวยไม่แพ้กล้องหลักด้านหลัง ยกตัวอย่าง Oppo F1 Plus ที่มีกล้องหน้าสวยและความละเอียดมากกว่ากล้องหลังเสียอีก (กล้องหน้า 16 ล้านพิกเซลขณะที่กล้องหลังอยู่ที่ 13 ล้านพิกเซล)

หรือจะเป็น Sony Xperia X, XA Ultra ที่มีกล้องหน้าความละเอียดระดับ 13-16 ล้านพิกเซล เพื่อให้ภาพที่ได้ในการถ่ายแบบ Selfie นั้นออกมาสวยที่สุด สุดท้ายว่าไปแล้วก็อยู่ที่ผู้ใช้ครับ ถ้าซีเรียสกับกล้องหน้า Selfie มากกว่า ก็แนะนำให้ลองเช็คดู และลองเล่นตามศูนย์ขายสมาร์ทโฟน เขามีตัวจริงให้ลองทุกรุ่น แต่ถ้าชอบถ่ายภาพที่อยู่ตรงหน้ามากกว่าจะหันกล้องมาถ่ายตัวเอง ก็ดูสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนด์ของแต่ละค่ายไปเลย รักค่ายไหนชอบค่ายไหนก็ลองไปจับๆ เล่นๆ ถ่ายภาพดู ก่อนจะตัดสินใจซื้อนะครับ ของสมัยนี้มันแพง คิดก่อนค่อยตัดสินใจนะครับ

ถ้าต้องเลือกสมาร์ทโฟนกล้องสวยสักตัวหนึ่ง ตอนนี้อะไรที่เป็นทางเลือกที่ดีบ้าง

8082_1606081041078s


Oppo1

ปัจจุบันโทรศัพท์สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ จะเน้นเรื่องการถ่ายภาพมาเป็นอันดับแรกในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ บอกได้เลยว่าถ้าสมาร์ทโฟนรุ่นไหนถ่ายภาพไม่สวย รับรองครับ ขายไม่ออกอย่างแน่นอน สำหรับปีนี้มีสมาร์ทโฟนรุ่นเรือธงมากมายที่มีจุดเด่นในเรื่องการถ่ายภาพ ลองไปดูกันครับว่ารุ่นไหนบ้างเป็นทางเลือกในแบบเรา ถ้าชอบค่าย Samsung ผมแนะนำ Galaxy S7/S7 Edge เลยครับ เทคโนโลยี Dual Pixel ทำให้การถ่ายภาพแม้ในสภาพแสงน้อยภาพก็ยังออกมาสวยครับ แม้ความละเอียดจะอยู่ที่ 12 ล้านพิกเซลก็ตาม (อย่าไปยึดติดมาก 12 ล้านพิกเซลก็ถือว่าไม่ขี้เหร่นะครับ ภาพชัดภาพคม สำคัญกว่าขนาดของภาพนะจะบอกให้)

ถ้าเป็นค่าย iPhone ก็ต้องเป็น iPhone 6s Plus ครับ แต่ถ้าจะรอผมคาดว่า iPhone 7 ที่จะออกปีนี้น่าจะมีกล้องที่ดีมากๆ ตัวหนึ่งในวงการสมาร์ทโฟนเลย สำหรับค่าย OPPO ก็อยากจะแนะนำไปที่ F1 Plus ครับ ตัวนี้กล้องหลังก็ถ่ายสวยที่เด็ดกว่าคือกล้องหน้า Selfie ที่ความละเอียด 16 ล้านพิกเซลครับ ขนาดได้คุณใหม่ ดาวิกา มาเป็น Brand Ambassador ด้วย ถือว่าไม่ธรรมดาเลย สำหรับคนที่ชอบค่าย Asus ก็อยากแนะนำไปที่ Zenfone Zoom ที่มีเลนส์ซูมระดับ Optical Len 28-84 mm เลยทีเดียว ภาพชัดคมในทุกระยะซูมครับ

แต่ถ้ามองหาสมาร์ทโฟน ขนาดมาตรฐานก็แนะนำให้รอ Zenfone 3 ที่จะออกในปลายเดือน ก.ค. นี้รับรองถ่ายสวยแน่นอนครับ โดยเฉพาะ Zenfone 3 Deluxe ที่กล้องมีความละเอียดสูงถึง 23 ล้านพิกเซล สำหรับกระแสที่มาแรงตอนนี้ก็ต้องเป็น Huawei P9/P9 Plus ที่ใช้เทคโนโลยีของ Leica ทำให้ภาพที่ได้คมชัดมากๆ (มากกว่าที่เคยเห็นเทียบกับกล้องสมาร์ทโฟนยี่ห้ออื่นๆ) ตอนนี้ถึงขนาดว่าของขาดตลาดกันเลยสำหรับรุ่น P9 Plus (ที่จริงๆแล้วแพงกว่ารุ่น P9 ปกติถึง 5,000 บาท แต่ดีกว่าตรงที่กล้องหน้าเป็น Auto Focus)

ขณะที่อีกค่ายหนึ่งที่ทำกล้องได้ดีมากๆ (เพราะเป็นเจ้าตลาด Image Sensor ที่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟน ทุกค่ายต่างต้องใช้กับกล้องของสมาร์ทโฟนตัวเองกันทั้งสิ้น) อย่างค่าย Sony ก็มีรุ่นที่น่าใช้ในทุกระดับราคา ไม่ว่าจะเป็น Xperia XA น้องเล็ก แต่คุณภาพกล้องไม่เล็กตาม หรือจะเป็น Xperia XA Ultra ที่มีหน้าจอใหญ่ 6” ใช้กล้องหน้าละเอียดถึง 16 ล้านพิกเซล และรุ่นใหญ่อย่าง Xperia X, X-Performance ที่มาพร้อมความละเอียด 23 ล้านพิกเซลสำหรับกล้องหลักและ 13 ล้านพิกเซลสำหรับกล้องหน้าบวกกับความสามารถในการปรับโฟกัสของวัตถุที่เคลื่อนที่ได้ทุกองศา ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีมากสำหรับคนที่เน้นสมาร์ทโฟนในการถ่ายภาพ

สุดท้ายอยากฝากไว้ว่า ชอบรุ่นไหน ให้ไปลองกันก่อนนะครับ เดี๋ยวนี้เครื่องทดลองเล่น (Live Demo) เขามีกันอยู่แทบทุกรุ่น ตามร้านขายมือถือในห้างทุกแห่ง ลองเล่นลองถ่ายรูป ลองซูมภาพดู และเปรียบเทียบกับสมาร์ทโฟนตัวเก่าของเราที่ใช้อยู่ แล้วคุณจะพบกับสมาร์ทโฟนในฝันของคุณเพื่อการถ่ายภาพให้สวยงาม อย่างที่คุณตามหามานานแน่นอน โชคดีนะครับ

สำหรับแฟนๆ ท่านใดที่มีคำถาม สามารถติดตามมาได้ที่ twitter ของผม @peter2514 นะครับ ส่วน Facebook ตามมาได้ที่ Techoffside ถ้าจะติดตาม Instagram ก็ Search หา ID “peter2514” ได้นะครับ แล้วเจอกันใหม่ฉบัานะครับบหน้ ขอบคุณทุกการติดตามครับ

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save