Article

Bitcoin – เงิน Crypto – บล็อกเชน – มารู้จัก 3 คำนี้แบบเข้าใจง่ายๆ

Bitcoin

เรื่องที่มาแรงสุดๆ ทั้งในวงการไอทีและโลกการเงินช่วงนี้คงไม่พ้น “สกุลเงินดิจิตัล” ที่มีทั้ง Bitcoin (บิทคอยน์) และอีกมากมายหลายร้อยพันสกุล ซึ่งรวมๆ แล้วเรียกว่า “Cryptocurrency” (คริปโตเคอเรนซี่)

เรื่องที่มาแรงสุดๆ ทั้งในวงการไอทีและโลกการเงินช่วงนี้คงไม่พ้น สกุลเงินดิจิตัล” ที่มีทั้ง Bitcoin (บิทคอยน์) และอีกมากมายหลายร้อยพันสกุล ซึ่งรวมๆ แล้วเรียกว่า “Cryptocurrency” (คริปโตเคอเรนซี่)

หลายคนรู้จักมันเพราะเป็นข่าวว่า ราคา” หรือ อัตราแลกเปลี่ยนนั้น แข็งค่าขึ้นมารวดเร็วและรุนแรงเหลือเกิน และบางทีก็เหวี่ยงลงได้โหดร้ายไม่น้อย แม้จะรู้จัก แต่หลายคนก็ยังงุนงงอยู่ว่าจริงๆ แล้วมันคืออะไร? ทำไมถึงมีมูลค่าสูงได้ขนาดนี้? ใช้ทำอะไรได้บ้าง? และที่สำคัญคือต่างจาก “เงิน” เดิมๆ อย่างไร?

ผมจึงอธิบายแบบง่ายๆ ให้ผู้ที่ยังไม่เข้าใจ จะได้เป็นพื้นฐานคร่าวๆ ไว้ติดตามข่าวอื่นๆ หรือหาความรู้ด้านนี้เพิ่มต่อไป ส่วนใครที่มีความรู้อยู่แล้ว หรือลงทุนด้านนี้อยู่แล้วก็ข้ามไปได้เลยครับ

Bitcoin

 

กำเนิดจาก “Bitcoin” โดยชายนิรนาม “ซาโตชิ”

จุดเริ่มต้นของ เงินคริปโตฯ” นั้น คือในเดือนตุลาคมปี ค.ศ.2008 (หรือ พ.ศ. 2551) เมื่อมีชายที่ใช้ชื่อซึ่งอาจจะเป็นชื่อแฝงว่า “Satoshi Nakamoto” (ซาโตชิ นากาโมโตะ) ได้เขียนเอกสารออนไลน์ นำเสนอไอเดียสร้างเงินสกุลใหม่ในชื่อว่า “BitCoin” (อ่านเอกสารไอเดียแรกของบิทคอยน์ได้ที่นี่) จนมีผู้สนใจรวมตัวกันเกิดเป็นเว็บบอร์ดขึ้นมาเลยทีเดียว

อธิบายคร่าวๆ คือเขามองว่า… การโอนเงินและจับจ่ายออนไลน์ของพวกเราทุกวันนี้ ต้องไปผ่านธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทบัตรฯ โดนหักค่าธรรมเนียมต่างๆ หลายต่อ และยิ่งถ้าโอนข้ามประเทศก็ยิ่งโดนหักขึ้นไปอีก

ฉะนั้น น่าจะดีถ้าการโอนเงิน การจับจ่ายออนไลน์นั้น ไม่ต้องไปผ่านพึ่งพาอาศัยเซิฟเวอร์แม่ข่ายที่ไหน แต่ใช้คอมฯ ของทุกๆ คนช่วยกันเก็บข้อมูล ช่วยกันประมวลผล หรือเปรียบได้กับการช่วย เป็นพยาน” ยืนยันกันเองให้กับทุกธุรกรรมการรับจ่ายโอนทั้งหลาย

แนวคิดนี้ได้รับความสนใจและช่วยกันพัฒนาต่อจากนั้นเป็นต้นมา ซึ่งถ้าแยกเฉพาะเรื่องการช่วยกันเก็บและประมวลถอดรหัสข้อมูลนี้ ก็จะเป็นระบบที่เรียกว่า “Blockchain” (บล็อคเชน) นั่นเอง คือแบ่งข้อมูลออกเป็นบล็อคๆ แล้วกระจาย (Decentralize) ช่วยกันประมวลผลเสมือนสายโซ่ (Chain) จนไม่ต้องมีเครื่องแม่ข่าย

และนายซาโตชิไม่ได้หยุดแค่การคิดแค่ระบบการยืนยันข้อมูลแบบกระจายศูนย์ที่เรียกว่า Blockchain แต่ยังคิดว่าแทนที่จะรับส่งเงินสกุลต่างๆ กันโดยตรง ก็น่าจะดีกว่าหากต้องนำมาแปลงเป็นเงินสกุลดิจิตัลก่อน และเงินดิจิตัลสกุลแรกในโลกก็เกิดขึ้นในชื่อว่า “BitCoin” นี่เอง

 

Bitcoin

อะไรคือการ ขุดบิทคออยน์” , ขุดเหมือง” ?

อย่างที่บอกไว้แล้วว่าธุรกรรมต่างๆ ในโลกของเงินสกุลดิจิตัลนั้น ไม่มีเซิฟเวอร์ศูนย์กลางหนึ่งเดียวของธนาคารหรือรัฐบาลไหนมาคุม แต่เป็นคอมพิวเตอร์จำนวนมหาศาลของหลากหลายคนจากทั่วโลกช่วยกันประมวลผลและยืนยันรายการต่างๆ ตลอดเวลา

การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้เพื่อช่วยเป็นพยานยืนยันให้กับธุรกรรมของคนอื่นๆ ทั่วโลกนั้น จัดว่าเปลืองค่าไฟและต้องใช้คอมฯ สมรรถนะสูงระดับหนึ่ง ฉะนั้นจึงมีการออกแบบระบบให้ใครก็ตามที่เปิดเครื่องช่วยยืนยันธุรกรรมทั้งหลายนี้ ได้เงินเล็กๆ น้อยๆ เป็นค่าตอบแทนด้วย

ซึ่งนั่นก็ได้พัฒนามาเป็น การขุดบิทคอยน์” ที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง

และทุกวันนี้การขุดเงินก็ทำกันได้กับหลายๆ สกุลเงินดิจิตัล ไม่ใช่แค่สกุลบิทคอยน์เท่านั้น โดยใช้ การ์ดจอ” หรือการ์ดประมวลผลกราฟฟิกสำหรับการเล่นเกมและออกแบบบนคอมพิวเตอร์เป็นกำลังสำคัญ

เพราะการ์ดพวกนี้บังเอิญออกแบบมาเพื่อถอดรหัสจำนวนมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว เพราะปกติต้องใช้ถอดรหัสกราฟฟิก ลายเส้น สีสัน แสงเงา และการเคลื่อนไหวละเอียดยิบ ก็เปลี่ยนมาเป็นการช่วยถอดรหัส Blockchain ธุรกรรมเงินดิจิตัลที่ซับซ้อนแทน

 

Bitcoin

อยากมีบิทคอยน์ ต้องขุดเท่านั้นหรือเปล่า ?

การจะได้บิทคอยน์หรือเงินสกุลดิจิตัลอื่นๆ มาไว้ครอบครอง ไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อเครื่องมาขุดก็ได้ เพราะมีบางเว็บบางบริษัทให้ร่วมลงทุนหรือเช่าเหมืองขุด (เครื่องคอมฯ และการ์ดวงจรจำนวนมาก)

และที่ง่ายกว่านั้น และเป็นวิธีที่กำลังฮิต คือใช้เงินบาทปกติไปซื้อเงินดิจิตัลเหมือนการแลกเปลี่ยนเงินมาเลย อาจจะโดยการไปซื้อจากคนที่มีหรือบริษัทที่มีโดยตรง หรือซื้อขายผ่านระบบเทรดผ่านโบรกเกอร์คล้ายการเล่นหุ้นก็ได้

 

Bitcoin

คุณค่าหรือมูลค่าของมันอยู่ที่อะไร ? ทำไมราคาถึงพุ่งแรงมาก แรงไม่หยุด

เราคงเคยได้ยินว่าเงินบางสกุล เช่นเงินของประเทศซิมบับเวย์ เฟ้อมากจนกระทั่งจะซื้อไข่สักฟองยังต้องใช้เงินเป็นพันๆ หมื่นๆ หรือแม้แต่เงินบาทของเราเองก็เคยถูกบริหารผิดพลาดจนต้องลอยตัวลดค่าดำดิ่งจาก 25 บาทต่อดอลลาร์ไปเป็นกว่า 50 บาทต่อดอลลาร์เพียงแค่ปีเดียวใน วิกฤตต้มยำกุ้ง” ช่วงปี 2540

และเราก็เคยได้ยินว่าการลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้นกู้บางอย่างก็กลายเป็นขาดทุนหรือสูญเงินไปเลย เพราะรัฐบาลประเทศนั้นๆ สถาบันการเงินนั้นๆ หรือบริษัทนั้นๆ ล้มละลาย

แต่กับเงินสกุลดิจิตัลแท้ๆ เช่นบิทคอยน์นั้น ในทางทฤษฎีมูลค่าจะไม่ขึ้นกับการบริหารของใครคนใดคนหนึ่ง เพราะไม่มีใครควบคุมปริมาณ และไม่มีใครเป็นเจ้าภาพรายเดียวอยู่ ฉะนั้นแม้กองทุนหรือใครคนไหนจะเจ๊งล้มละลายไปก็ไม่ทำให้เงินสกุลนี้สูญค่าไปได้

นอกจากนี้การถ่ายโอนกันก็ทำได้สะดวกแบบไร้พรมแดน หรือแม้แต่ไร้ตัวตน นั่นทำให้องค์กรระหว่างประเทศเช่น Wikileak (วิกิลีกส์) เคยใช้ระดมทุนขอความช่วยเหลือในช่วงที่ผู้ก่อตั้งถูกเล่นงานจากทางการสหรัฐฯ ซึ่งนั่นอาจเป็นตัวอย่างเชิงบวก แต่ตัวอย่างเชิงลบก็เช่นบางเครือข่ายธุรกิจสีเทาก็ใช้ฟอกเงินด้วยเช่นกัน

ซึ่งทั้งหมดนี้คือความสะดวกจนทำให้เกิดการ เก็ง” กันว่าในอนาคตระยะยาว อาจมีเงินดิจิตัลที่น่าเชื่อถือบางสกุล เช่น บิทคอยน์ทำหน้าที่แทนเงินตราเดิมๆ ทั่วโลก

และในเมื่อบิทคอยน์ถูกกำหนดไว้ว่าจะมีแค่ไม่เกิน 21 ล้านบิทคอยน์ แต่กลับต้องทำหน้าที่แทนเม็ดเงินหลายแสนล้านดอลลาร์ทั่วโลก ก็ทำให้เกิดการวาดฝัน ปั่น และเก็งกำไร จนทำให้ 1 บิทคอยน์มีราคาเกินหมื่นดอลลาร์อย่างปัจจุบันนั่นเอง

ซึ่งแม้จะมีเงินดิจิตัลสกุลใหม่ๆ เกิดตามและฮิตตามมาด้วย เช่น Ethereum, Ripple, Litecoin, XLM, ฯลฯ แต่รวมๆ แล้วก็ยังถือว่าเป็นสัดส่วนน้อยนิดอยู่มากเมื่อเทียบกับปริมาณเม็ดเงินเดิมๆ ทั่วโลก ฉะนั้นจึงยังมองไกลและเก็งกำไรกันต่อไปได้อีกยาวๆ

 

Bitcoin

แล้วทำไมราคาถึงผันผวนสุดๆ ด้วย ?

แม้ในทางทฤษฎีจะสวยงามแค่ไหน แต่ว่าในทางปฏิบัติจริงทุกวันนี้ เงินบิทคอยน์ก็มีความผันผวนไม่น้อย เมื่อมีข่าวมากระทบ เช่นเมื่อเดือนที่แล้วราคาพุ่งสูงขึ้นไปถึงราว 6 แสนบาทต่อ 1 บิทคอยน์ แต่ผ่านไปแค่เดือนเดียวกลับดำดิ่งต่อเนื่องจนเหลือ 3 แสนกว่าบาทต่อ 1 บิทคอยน์เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านไป ก่อนจะเด้งกลับขึ้นไป 4.4 แสนบาท และก็ปรับตัวมาที่ 3.8 แสนบาทอีกครั้งช่วงที่เขียนบทความนี้อยู่

ข่าวที่มากระทบก็คือรัฐบาลเกาหลีใต้ และรัฐบาลจีน ต่างก็พากันไล่คุมเข้มและปราบปรามธุรกิจที่อ้างบิทคอยน์หรือเงินดิจิตัลในรูปแบบต่างๆ

นั่นทำให้หลายฝ่ายมองว่าอนาคตที่วาดฝันไว้ว่าเงินดิจิตัลเช่นบิทคอยน์จะแทนที่เงินตราประเทศต่างๆ ทั่วโลกนั้นดูเป็นไปได้ยากขึ้น และถ้าเป็นเช่นนั้น 1 บิทคอยน์ก็ไม่ต้องแทนเงินตรานับหมื่นดอลลาร์หรือหลายแสนบาทหรืออื่นๆ อย่างที่เก็งไว้ มูลค่าจึงถูกมองลดลงฮวบฮาบ

แต่ถ้าลดมากไป ดิ่งเร็วไป ก็จะบางกลุ่มคน บางฝ่าย ที่ยังมองสดใสกว่านั้น เข้าไปช้อนซื้อจนราคาเด้งขึ้นมา

และนี่สะท้อนว่าบิทคอยน์และเงินดิจิตัลสกุลต่างๆ ทุกวันนี้ก็แทบไม่ต่างกับหุ้น คือมีการมองอนาคตทั้งระยะสั้นและระยะยาวในมุมมองที่ต่างกัน การพนัน เอ้ย! การซื้อขายเก็งกำไรและ เกร็งขาดทุน” จึงบังเกิดขึ้น โดยก็มีทั้งรายย่อยและ รายใหญ่” ที่มีอิทธิพลต่อราคาไม่ต่างกับหุ้นหรือตราสารทางการเงินแบบเดิมๆ เหมือนกัน

Bitcoin

สองพี่น้องตระกูลวิงเคิลวอส

ตัวอย่าง ขาใหญ่บิทคอยน์” ที่ว่านี้ก็เช่นสองพี่น้องตระกูลวิงเคิลวอส ที่เคยมีคดีความกล่าวหาว่ามาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ขโมยไอเดียการสร้างเฟซบุ๊กไปสมัยที่ยังเรียนมหาวิทยาลัยฮาร์วาดร์ดกันอยู่ ซึ่งเรื่องราวนี้ก็อยู่ในหนังเรื่อง “The Social Network” ด้วย ซึ่งถ้าใครเคยดูก็คงนึกถึงพี่น้องฝาแฝดนักกีฬาพายเรือคู่นั้นออก

 

Bitcoin

ระวังไว้ก็ดีเหมือนกัน

การคุมเข้มของรัฐบาลจีน เกาหลีใต้ และอีกหลายประเทศนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องที่ไร้เหตุผล เพราะมีบางกลุ่มบางคนที่อ้างคำว่าบิทคอยน์ คำว่าบล็อกเชน ฯลฯ มาชวนประชาชนไปลงทุน โดยที่ไม่ได้นำไปซื้อเงินดิจิตัลจริง หรือแม้แต่ถ้านำไปซื้อจริง แต่ก็ไม่มีหลักประกันว่าจะเชิดเงินหนีไปทั้งหมดหรือไม่

บางรายก็เป็นโบรคเกอร์เงินดิจิตัลอย่างถูกต้องตามหลักการ แต่ว่าเงินดิจิตัลของลูกค้าก็ถูกเก็บไว้ที่บริษัทเท่านั้น หากวันใดวันหนึ่งถูกแฮคเกอร์ ขโมยข้อมูล” ไป ก็เท่ากับเงินก้อนนั้นสูญไปด้วย ซึ่งหากเกิดขึ้นเมื่อไหร่ นักลงทุนบิทคอยน์ก็อาจเจ๊งหมดตัวได้ แม้ว่าค่าเงินจะขึ้นเอาๆ ก็ตาม

ฉะนั้นโบรคเกอร์ที่น่าเชื่อถือจึงต้องทำ “Cold storage” คือแยกเก็บไว้ในฮาร์ดดิสค์หรืออื่นๆ ที่แยกไว้ไม่ต่ออินเตอร์เน็ต เข้าตู้นิรภัยและสำรองไว้มากกว่า 1 ที่ด้วย

แล้วเช่นกัน ฝ่ายประชาชนนักขุดหรือนักเทรดเงินดิจิตัลก็สามารถและควรทำ Cold storage เงินของตัวเองไว้ด้วย เหมือนการแบ็คอัพเก็บไฟล์งานสำคัญไว้หลายๆ ที่ เผื่อว่าโบรคเกอร์ถูกแฮ็ค หรือเจ๊งไป พอร์ตเงินดิจิตัลของเราก็จะได้ยังปลอดภัยอยู่

ทั้งหมดที่ว่าไปนี้ เป็นกรณีการลงทุนในสกุลเงินที่น่าเชื่อถือ เช่น บิทคอยน์ และก็ไม่ลืมที่จะรักษาความปลอดภัยของการเก็บเงิน แต่ก็ยังมีบางกรณี กับบางสกุลเงินดิจิตัล ที่ดึงคนไปร่วมลงทุนได้ แต่สุดท้ายปรากฏว่าสกุลเงินนั้นเกิดล่มสลาย มูลค่าตกวูบลงจากหลายพันบาทเหลือไม่กี่บาทในไม่กี่วัน

นั่นเป็นเพราะระบบเบื้องหลังสกุลเงินนั้นยังไม่กระจาย (Decentralize) อย่างแท้จริง ฉะนั้นเมื่อบริษัทที่คิดค้นและดูแลอยู่เกิด เจ๊ง” ขึ้นมา ก็ทำให้เงินตราดิจิตัลสกุลนั้นๆ เป็นอันสาบสูญไปด้วย

ตัวอย่างสกุลเงินดิจิตัลที่โด่งดังและถูกพิสูจน์มาเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้วก็เช่น BitCoin, Ethereum, Ripple และยังมีอีกหลายสิบสกุล ซึ่งเงินสกุลไหนจะน่าเชื่อถือแค่ไหน อย่างไร คุณผู้อ่านต้องไปค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อ

 

Bitcoin

คำว่า “บล็อคเชน” เกี่ยวข้องกับเงินดิจิตัลเท่านั้นหรือเปล่า?

อย่างที่บอกไปว่าบล็อกเชนก็คือการประมวลและยืนยันข้อมูลแบบกระจาย ไร้ศูนย์กลาง (Decentralize) และเกิดจากการคิดค้นเรื่องเงินสกุลดิจิตัล

แต่ทว่ามาถึงทุกวันนี้ แนวการประมวลผลแบบบล็อคเชนถูกประยุกต์ไปใช้ในหลากหลายด้านแล้ว เช่นข้อมูลธุรกิจ ข้อมูลการแพทย์ ข้อมูลวิทยาศาสตร์ และอีกมากมาย ฉะนั้นเราจึงเห็นคำนี้ในข่าวไอทีและข่าววงการอื่นๆ อีกมากมาย ไม่จำกัดแค่เรื่องการเงินเท่านั้น

เหตุผลที่ผมเขียนถึงเรื่อง “Cryptocurrency” แม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับมือถือแบบตรงๆ ก็เพราะว่ามันอาจจะเป็นหนึ่งในวิธีจ่ายเงินแบบใหม่ในโลกออนไลน์ ซึ่งก็รวมไปถึงการจ่ายผ่านมือถือหรือ Mobile payment ด้วยในเร็วๆ นี้

และที่สำคัญคือเงิน Cryptocurrency เป็นเรื่องที่แทบทุกคนที่ติดตามเทคโนโลยีกำลังสนใจ ซึ่งแน่นอนว่าน่าจะรวมถึงผู้อ่าน What Phone ทุกคนเช่นกัน และบทความนี้ก็เป็นแค่การบอกเล่าเบื้องต้นคร่าวๆ เท่านั้น ผู้อ่านคนไหนสนใจก็ต้องไปทำการบ้านศึกษาต่ออีกมาก โดยเฉพาะถ้าอยากจะลงทุนหรือเก็งกำไรกับมัน

 

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save