Applications

ตรวจสอบคุณสมบัติของมือถือคู่ใจด้วย CPU Identifier

ตรวจสอบคุณสมบัติของมือถือด้วยเเอพ CPU Identifier ดูว่าการทำงานของมือถือและตรวจสอบคุณสมบัติตัวเครื่องไปพร้อมกัน

ตรวจสอบคุณสมบัติของมือถือคู่ใจด้วย CPU Identifier

หลายท่านใช้งานโทรศัพท์มือถือคู่ใจมาก็อาจจะระยะนึงแล้วหรือกำลังมองหาโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ แล้วก็มีความสงสัยว่า เอ๊ะ คุณสมบัติตัวเครื่องที่เราสนใจนั้นเป็นอย่างไรบ้าง จะแรงพอไหม หรือ…ที่มีข่าวมาเป็นระยะก็คือเครื่องปลอมครับ ที่ปลอมได้เหมือนมากๆ ตั้งแต่หน้าตาของตัวเครื่องไปจนถึง UI ที่ดูเผินๆ หรือไม่เผินก็ยังจะบอกว่าเป็นเครื่องจริงที่เรากำลังสนใจก็ได้

มาตรวจสอบคุณสมบัติของตัวเครื่องกันครับ นอกจากโปรแกรมเจ้าดังแล้ว ก็ยังมีอีกโปรแกรมที่น่าสนใจด้วยหน้าจอหลักสวยงามและมีการประเมินให้คะแนนความสามารถขององค์ประกอบในตัวเครื่องด้วย ชื่อว่า CPU Identifier ดาวน์โหลดมาติดตั้งกันได้จาก Play Store กันเลยครับ ยอดดาวน์โหลดกว่า 1 ล้านครั้ง

01.png

เมื่อเปิดใช้งาน ใช้เวลาเล็กน้อยในการระบุคุณสมบัติตัวเครื่อง

02.png

มาแล้วครับคุณสมบัติตัวเครื่อง เครื่องที่ใช้ทดสอบเป็น LG Nexus 4 มากันแบบครบๆ แล้ว และด้านบนยังแสดงการใช้ CPU ด้วย สำหรับ Nexus 4 นั้น CPU เป็นแบบ 4 cores ก็เลยมี 4 แถบสถานะ และ ณ เวลาที่ทดสอบ มี1 core ที่ Inactive หรือไม่ได้ทำงาน เนื่องจากยังไม่มีการประมวลผลเยอะ ตามคุณสมบัติการประหยัดพลังงานของเครื่อง

นอกจากนี้แล้วยังระบุขนาดของหน้าจอและคุณสมบัติของ GPU หรือ Graphic Processing Unit ด้วย

03.png

แตะเลือกที่ CPU Database เพื่อดูข้อมูล CPU

04.png

ข้อมูล CPU มาแบบละเอียดเลยครับ CPU ที่ใช้คือ Qualcomm APQ8064 x4 พร้อม GPU Adreno 320

05.png

เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ Wiki เพื่อดูข้อมูลแบบเต็มได้ด้วย

06.png

ข้อมูลหน้าจอและ GPU ก็ระบุมาให้แบบครบครัน ไม่ต้องไปหาข้อมูลจากที่อื่นเพิ่มเติม สังเกตได้ว่า CPU 2 cores ที่ Inactive ระบบประหยัดพลังงานทำงานได้ดีจริงๆ ครับ

07.png

ลอง Evaluate เพื่อหาคะแนนความสามารถของ CPU กันครับ

08.png

มาแล้วครับ มีคะแนนของ CPU อื่นๆ มาเทียบเคียงให้ด้วยเริ่มตั้งแต่ที่คะแนนน้อย

09.png

มาจนถึงคะแนนมากและบอกว่า CPU ของเราได้คะแนนเท่าไร

10.png

ถ้าต้องการแชร์ข้อมูลก็จัดไปเลยครับ ทั้ง Line, Facebook, Group และอื่นๆ

11.png

ข้อมูลโดยรวมของเครื่องก็มีแบบสรุปรวมให้ เราจะได้เช็คว่าตรงตามที่ผู้กำหนดผลิตมาหรือไม่ ตั้งแต่ OS version, Flash memory (ไม่เต็มที่ผู้ผลิตระบุไว้นะครับ เนื่องจากใช้เก็บข้อมูลของระบบ) และมีแจ้งอุณหภูมิ ณ เวลานั้นด้วย

12.png

ข้อมูล Kernel ของระบบปฏิบัติการ รอนิดนึงครับ เก็บข้อมูลจากระบบ

13.png

จากนั้นก็จะแสดงรายการข้อมูล เยอะเลย

14.png

ดูคะแนนการประมวลผลของ CPU ในส่วนของ BogoMips กันครับ โดย BogoMips มีนิยามดังนี้ BogoMips (from “bogus” and MIPS) is an unscientific measurement of CPU speed made by the Linux kernel when it boots to calibrate an internal busy-loop. จาก Wikipedia ครับ

15.png

มี Database รุ่นอื่นๆ เอาไว้ให้เทียบเคียงเช่นกัน

16.png

มีคำเตือนด้วยว่า CPU usage ตอนนี้สูงไป ให้ลดการประมวลผลลงก่อนทำการประเมิน ไม่อย่างนั้นแล้วค่าที่ได้อาจจะต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากว่า CPU ถูกใช้ในส่วนงานอื่นเยอะ

17.png

รอ 3 Beeps

18.png

มาแล้วครับ คะนนในส่วน BogoMips ทั้งแบบ core เดียวและ 4 cores

19.png

เราก็เลื่อนมาดูได้ว่า ใกล้เคียงกับในฐานข้อมูลหรือไม่

20.png

ลองวางเครื่องไว้สักระยะ คอยแตะหน้าจอไม่ให้หน้าจอกับ CPU ที่ Inactive ก็จะกลายเป็น 2 cores เป็นการทดสอบการจัดการการใช้งาน CPU core เพื่อประหยัดพลังงาน

21.png

มีข้อมูลความถี่สัญญาณนาฬิกาของ CPU ให้ดูด้วยว่า ถูกใช้งานที่ความถี่ใดจำนวนเท่าใด

22.png

ข้อมูลของ CPU มีเพิ่มเติมให้ครับ เพราะว่าเป็นหัวใจหลักเลยของการประมวลในส่วน Hardware

23.png

แตะที่ปุ่มเมนู (สามจุดเรียงจากบนลงล่าง) จะมีหน้าต่างเมนูย่อยปรากฏให้เราเลือกว่าพอใจหรือไม่ (Satisfy), เปิด/ปิดเสียง, ล้างข้อมูล GPU, หรือถ้าต้องการความช่วยเหลือใดๆ ก็เลือกที่เมนูล่างสุด

24.png

ลองแตะเลือกที่ Reset GPU infos เป็นการล้างข้อมูล GPU ที่ CPU identifier ได้เก็บข้อมูลเอาไว้ระหว่างการใช้งาน เมื่อเข้ามาใช้งานอีกครั้งก็จะเก็บข้อมูลใหม่

25.png

นอกเหนือจากการใช้ CPU Identifier ในการตรวจสอบคุณสมบัติตัวเครื่องของเราหรือเอาไว้ใช้ดูสถานะการทำงานของ CPU รวมไปถึงมีการแจ้งอุณหภูมิ ณ เวลานั้นด้วย ถ้าเราไปซื้อเครื่องใหม่ก็ขอลองติดตั้งดูได้ครับ เพื่อดูว่าการทำงานเป็นไปตามปกติไหมและเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติตัวเครื่องด้วย อย่างที่ได้เกริ่นไปคือ มีเครื่องปลอมที่หน้าตาเหมือนจริงมากๆ รวมไปถึงเมนูต่างๆ ด้วย ถ้าไม่ตรวจสอบในระดับ About Phone หรือ ใช้โปรแกรมตรวจสอบก็แทบจะแยกไม่ออกกันเลยทีเดียวจะได้รู้เท่าทัน และจะได้อัพเดตเทคโนโลยีกันด้วยว่า ในปัจจุบันมี CPU, GPU ใหม่ๆ รุ่นใดออกมาใช้งานจริงกันแล้วบ้างอีกด้วยครับ

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save